ไมโครโฟน USB Condenser vs ไมโครโฟน USB Dynamic ไมค์แบบไหนที่จะเหมาะกับคุณ?

ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์ที่จะรับเสียงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงพูด เสียงเครื่องดนตรี เสียงร้องเพลง หรือเสียงอื่นๆ เพื่อนำไปใช้ขยายเสียง หรือบันทึกเสียงต่อ โดยตัวไมโครโฟนจะมีตัวรับคลื่นเสียงซึ่งก็คือ Diaphragm แล้วเกิดการสั่นตัดขดลวดทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้า แล้วจากนั้นก็นำสัญญาณไฟฟ้านี้ไปขยายเพื่อใช้งานต่อไป ไม่ว่าจะนำมาขยายออกลำโพง หรือนำมาบันทึกเสียง หรืองานเสียงอื่นๆ   ปัจจุบันถ้าแบ่งไมค์ตามประเภทการเชื่อมต่อก็จะแบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือไมโครโฟนแบบใช้สายสัญญาณอนาล็อก, ไมโครโฟนแบบไร้สาย และไมโครโฟนแบบ USB ซึ่งวันนี้ เราจะมาพูดถึงไมโครโฟนแบบ USB กัน ซึ่งจะแบ่งเป็นประเภทย่อยๆได้อีก จะมีอะไรบ้าง แล้วใช้งานต่างกันอย่างไร มีข้อดี และข้อจำกัดแตกต่างกันอย่างไร จะเลือกอย่างไรเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานของคุณ ไปอ่านบทความต่อไปนี้กัน

เลือกซื้อไมโครโฟน USB จะเอาแบบ Condenser หรือ Dynamic ดีละ แล้วข้อดี และข้อจำกัดต่างกันอย่างไร

ไมโครโฟน USB เป็นไมโครโฟนสามารถใช้เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง โดยที่ไม่ต้องใช้ ออดิโออินเตอเฟส เพราะตัวไมค์มี Converter ที่สามารถแปลงสัญญาณจากไมค์เข้าสู่คอมพิวเตอร์ในตัว และหลายๆรุ่นก็จะมี Converter ที่แปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์สำหรับเอาไว้ต่อหูฟังเพื่อฟังเสียงได้ ซึ่ง ไมโครโฟน USB จะมีทั้งแบบ ไมโครโฟน และ Dynamic (ความแตกต่างของไมโครโฟน Condenser และ Dynamic : https://bit.ly/3kSsjk3)

ไมโครโฟน USB แบบ Condenser

ซึ่งไมโครโฟน USB แบบ Condenser จะมีความไวในการตอบสนอง และรับเสียงที่มากกว่า แบบ Dynamic ไม่ว่าเสียงกระซิบ เสียงแอร์ หรือยุงบินผ่านก็รับเสียงหมด ซึ่งจะเหมาะกับห้องที่ค่อนข้างเงียบ และไม่มีเสียงรบกวนจากภายนอก และห้องที่ไม่มีเสียงก้องมากเกินไป และข้อควรระวังในการใช้งาน Live Stream หรือบันทึกเสียง คือ อาจจะต้องใช้หูฟังสำหรับการฟังเสียงเพื่อมอนิเตอร์ เพื่อไม่ให้เสียงนั้นเกิดการ Loop เข้าไปในไมโครโฟน ถ้าให้สรุปง่าย ๆ ข้อดีของไมโครโฟน USB แบบ Condenser คือสามารถบันทึก หรือเก็บรายละเอียดของเสียงได้ดี แต่อาจจะมีข้อจำกัดตรงที่อาจจะเก็บรายละเอียดเสียงดีเกินไปจนมีเสียงที่ไม่พึงประสงค์เข้าไปด้วย อาจจะแก้ด้วยการใช้เครื่องมือเสริมอย่างเช่นใช้ Noise Gate หรือ ปลั๊กอินตัดเสียงรบกวนอย่าง iZotope RX9 ซึ่งการใช้งานก็อาจจะเหมาะกับผู้ที่มีห้องที่เงียบมากๆ หรือผู้ที่ใช้ทำงานเสียง Post Production หรือผู้ที่ใช้โปรแกรมตัดเสียงรบกวนที่กล่าวไปข้างต้น

ไมโครโฟน USB แบบ Dynamic

ไมโครโฟน USB แบบ Dynamic จะตอบสนองเสียงได้รัศมีค่อนข้างแคบ มีความไวในการตอบสนอง และรับเสียงที่น้อยกว่า แบบ Condenser การรับเสียงก็จะเหมือนไมโครโฟนที่ใช้ร้องเพลงบน Concert ทั่วไป (แบบ Dynamic) การใช้งานก็จะเหมาะกับห้องที่มีเสียงรบกวน หรือเสียงภายนอกที่ค่อนข้างมาก แต่ก็ไม่มากถึงกับน่าเกลียด ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับ Gain ให้มีความเหมาะสม แล้วค่อยจัดการความดังของไมค์ในโปรแกรมที่ใช้งานร่วมกันภายหลัง ซึ่งรายละเอียดของการรับเสียงก็อาจจะทำได้ไม่ละเอียดเท่า Condenser แต่ก็เรียกได้ว่าตัดปัญหาเรื่องเสียงรบกวนออกได้ประมานหนึ่งเลยทีเดียว   ข้อดีคือคุณสามารถใช้งานไมโครโฟน USB แบบ Dynamic ได้กับห้องที่มีเสียงรบกวน แต่ก็ไม่ดังมากเกินไปจนเสียงดังใกล้เค้า หรือเทียบเท่า หรือดังกว่าเสียงพูดของคุณ เช่นห้องที่มีแอร์ดัง เสียงสิ่งแวดล้อมภายนอกอย่างจิ้งหรีดหรือ หรือหมาเห่าเบาๆ ซึ่งไมโครโฟน USB แบบ Dynamic จะรับเสียงเฉพาะที่เราปรับ Gain ให้ไมค์สามารถรับได้เท่านั้น ซึ่งผู้ที่หาไมค์สำหรับ Live Stream นั้นควรใช้ไมค์ประเภทนี้ แต่ข้อจำกัดคือหากคุณพูดห่างไมค์เกินไปเสียงก็อาจจะเบา หรือเสียงไม่เข้าไมค์ได้

ไมโครโฟน USB แบบ Condenser และไมโครโฟน USB แบบ Dynamic เหมาะกับใคร?

ดังนั้นการเลือกซื้อไมโครโฟน USB แบบ Condenser และ ไมโครโฟน USB แบบ Dynamic ให้ดูการใช้งานของผู้ใช้ และปัจจัยของสภาพแวดล้อมห้องเป็นหลัก หากห้องของคุณมีเสียงรบกวนน้อย หรือคุณมีวิธีอื่นๆที่แก้ปัญหาของเสียงรบกวนให้หายไปได้ หรือ ก็อาจจะเลือกใช้ไมโครโฟน USB แบบ Condenser เพื่อที่จะได้รายละเอียดเสียงที่ครบ   ซึ่งถ้าห้องของคุณ หรือพื้นที่ทำงานของมีเสียงรบกวนจากภายนอกก็อาจจะใช้ไมโครโฟน USB แบบ Dynamic เพื่อลดปัญหาเสียงรบกวนเหล่านั้นให้น้อยลง ทำให้งาน Live Stream หรือ Broadcast ของคุณมีเสียงที่เคลีย และมีเสียงรบกวนเข้าไปให้น้อยที่สุด   แต่อย่างไรก็ตามการใช้งานนั้นก็อาจจะใช้งานแทนกันได้ แต่ผู้ใช้อาจจะต้องมีความเข้าใจในข้อจำกัดของอุปกรณ์ และหาวิธีแก้ไขปัญหาข้อจำกัดนั้นได้ เช่นอาจจะใช้ปลั๊กอินเสียงช่วย หรือวิธีการอื่นๆ ซึ่งก็ต้องดูความเหมาะสมด้วยอีกครั้ง   *สำหรับใครที่มีข้อสงสัยในการเลือกซื้อไมโครโฟน USB จะเอาแบบ Condenser หรือ Dynamic ก็สามารถสอบถามกับ ProPlugin ได้เลยทาง Facebook, Line และช่อทางอื่น ๆ ของ ProPlugin ได้เลย

ใส่ความเห็น