5 เทคนิค Mix เสียงร้องยังไงให้ดูโปร

ถ้าคุณกำลังเจอปัญหา เวลาอัดเสียงร้องเสร็จแล้ว แต่ยังรู้สึกไม่ค่อยพอใจ อยากเพิ่มความโปร ด้วยการ Mix เสียงร้อง แต่ไม่รู้จะทำยังไง ProPlugin มีคำตอบ

หลาย ๆ ครั้งที่เรามักเจอปัญหา เวลาอัดเสียงร้องเสร็จแล้วแต่อาจจะยังรู้สึกไม่ค่อยพอใจเท่าไหร่กับผลงานเท่าไหร่ อยากจะเพิ่มความโปรให้มากกว่านี้ ด้วยการ Mix เสียงร้อง แต่บางครั้งปรับไปปรับมากลายเป็นว่ายิ่งไปกันใหญ่ เหตุการ์ณแบบนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุครับ ทั้งเสียงร้องที่อาจเบาไป หรือ อุปกรณ์ที่ใช้อาจจะยังติดปัญหาในบางส่วน รวมทั้งเรื่องการ Mix เสียงของเราก็มีผลด้วยเช่นกัน

1. De-esser

สิ่งแรกที่เราต้องเช็คก่อนเลยคือเสียง sibilance พวกตัว จ ช ซ ส หรือ s t ch และอุปกรณ์หรือ Plugin ที่เอาไว้จัดการกับเสียงเหล่านี้คือ De-esser มันจะทำหน้าที่เป็นทั้ง Filter และ Limiter ในตัว เสียง Sibilance มักจะอยู่ในช่วงความถี่ 5kHz – 10kHz พอเราหาจุดที่เกิดเสียง Sibilance เจอแล้ว ก็ใช้ Threshold ในการกดสัญญาณในความถี่นั้นลง

2. EQ

จะช่วยให้เสียงร้องนั้นมีชีวิตชีวาและเด่นชัดขึ้นเวลารวมกับเครื่องดนตรี เพราะเสียงร้องแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน ฉะนั้นแล้วมันไม่มีสูตรตายตัวในการ EQ เสียงร้อง แต่ผมจะมาแนะนำเป็นไอเดียคร่าว ๆ ในการนำไปใช้นะครับ

ก่อนอื่นเราจะมาจัดการกับย่านความถี่ต่ำ หรือที่เรียกว่า Hi-Pass Filter เพื่อจะกำจัดเสียงที่มันขุ่นมัว หรือที่เรียกว่า Muddy sound ออก แต่ก็อย่างที่บอกนะครับว่าไม่มีสูตรตายตัว เราควรค่อยๆ ไล่ความถี่ประมาน 50Hz – 100Hz หรืออาจจะมากกว่านั้น มาเรื่อย ๆ จนกว่าจะเจอ Sweet Spot ของเสียงร้องนั้น ๆ และเพื่อที่จะให้เสียงร้องเด่นชัดขึ้นบน Mix เราควรบูสย่านความถี่ประมาน 2kHz-10kHz

3. Compressor

จะช่วยให้เสียงของเรา มีความดังที่สม่ำเสมอ ไม่ดังหรือเบาจนกระโดดห่างกันเกินไป โดย Function หลักๆของ Compressor มีดังนี้

– Threshold จะทำหน้าที่กดสัญญาณเมื่อระดับสัญญาณของค่าเสียงเกิน threshold ที่ตั้งไว้

– Raito โดยปกติผมมักจะตั้งไว้อยู่ที่ประมาณ 3:1 หมายความว่า เมื่อสัญญาณขาเข้าสูงเกินกว่าค่า threshold ที่ได้ตั้งไว้ ในทุก ๆ 3 dB เสียงจะถูกกดลงและจะออกไปแค่ 1dB เท่านั้น

– Attack คือ ตัวกำหนดว่าจะให้ compressor ทำงานเร็วแค่ไหน เมื่อสัญญาณเสียงเกินค่า threshold ที่ตั้งไว้ มันจะทำงานตรงข้ามกันกับค่า Release

– Gain เอาไว้สำหรับ makeup gain หมายถึง ค่าที่เอาไว้ปรับเพื่อชดเชยสัญญาณเสียงที่เบาลงจากการ Compress เพื่อให้ความดังมันเท่ากับความดัง ก่อนที่จะถูกกดลงมา

– ซึ่งการปรับค่า Compress นั้นอาจจะต้องลองฝึกฝน สังเกต และฟังสักหน่อย เพราะ Compressor แต่ละตัวแต่ละยี่ห้อจะให้เสียงเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน เราควรใช้ Compressor ที่เหมาะกับเสียงหรือแนวเพลงนั้นๆ โดยส่วนตัวผมแล้วจะ Compress ไม่หนักมากเพราะอยากได้ Dynamic ที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด

4. Reverb

จะทำหน้าที่ช่วยใช้เสียงร้องมีชีวิตมากขึ้น ไม่แห้งจนเกินไปใน Plugin จะมีค่า Predelay และ Reverb Time เราควรจะตั้งค่าให้มัน Sync กับ tempo ของเพลง

5. Delay

ในส่วนของเอฟเฟค Delay จะช่วยให้เนื้อเสียงมีมิติ เกิดเสียงสะท้อน ให้เสียงร้องมีความน่าสนใจมากขึ้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับแนวเพลงด้วยนะครับ บางเพลงอาจจะไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้

ลองนำ 5 เทคนิคจาก ProPlugin ไปปรับใช้กันดูนะครับ ได้ผลยังไงอย่าลืมมาอัปเดตให้ฟังกันด้วยนะครับ

ใส่ความเห็น