4 driver หูฟังที่มือใหม่ควรรู้
มือใหม่หัดเล่นหูฟัง เคยสงสัยกันบ้างไหม?
ว่าไดร์เวอร์นั้นมีหลายแบบ และแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
วันนี้ ProPlugin HIFI จะพาทุกคนไปรู้จักกับ 4 Driver หูฟัง ยอดฮิต
ที่มือใหม่ควรรู้ ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อหูฟังมาครอบครอง
1. Dynamic Driver
ไดร์เวอร์มาตรฐานสากลที่นิยมใช้กันมาอย่างยาวนาน มีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 3 ส่วนคือ แม่แหล็ก (Magnet) ขดลวด (Voice Coil) และแผ่นทองแดง (Diaphragm) เป็นไดร์เวอร์แรก ๆ ที่มีการทำออกมาขายในเชิงพาณิชย์ ใครที่นึกภาพไดร์เวอร์ตัวนี้ไม่ออก ก็ลองไปดูที่ดอกลำโพงกันได้ครับ
Dynamic Driver มักถูกนำไปใช้กับหูฟังทั้งแบบครอบหู แบบแนบหู รวมไปถึงหูฟัง Earbud และ In-Ear
#คุณภาพเสียง ให้เสียงที่เป็นธรรมชาติ เสียงกลางมีความสมจริง เสียงสูงพริ้วลื่นไหล และให้เบสที่มีอิมแพค หรือมีแรงประทะค่อนข้างลึกเลยล่ะครับ
2. Balanced Armature
ไดร์เวอร์ที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก ให้เสียงกลางที่ชัด และขับไม่ยาก ทำให้ไดร์เวอร์ชนิดนี้ถูกนำไปใช้งานกับหูฟังประเภท In-Ear Monitor หรือ Studio Monitor มีส่วนประกอบหลักคือ แม่เหล็ก Drive Rod (Drive Shaft) Diaphragm และ Armature
Balanced Armature มีรูปทรงแบบกล่องขนาดเล็ก ทำให้สามารถเรียงใส่ในหูฟังแบบ In-ear ได้ข้างละหลาย ๆ ตัว ซึ่งทำให้เราสามารถแยกการทำงานของไดร์เวอร์ออกเป็นย่านสำคัญในแต่ละย่าน ทั้งย่านสูง กลาง และต่ำได้
#คุณภาพเสียง สามารถแยกชิ้นดนตรีได้อย่างสมจริง เสียงสูงทอดตัวได้ยาว คมชัดเป็นประกาย แต่คุณภาพเสียงเบส อาจดีไม่เท่ากับ Dynamic Driver ครับ
3. ElectroStatic
ไดร์เวอร์ที่ไม่ค่อยพบเจอสักเท่าไร ใช้หลักการทำงานของไฟฟ้าสถิตย์ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ ก็คงจะเป็นการทดลองสมัยตอนเด็ก ด้วยการถูไม้บรรทัดพลาสติกด้วยผ้าสักหลาดเร็ว ๆ เมื่อเอามาวางไว้เหนือกระดาษแผ่นเล็ก ๆ จะเกิดการดูดกระดาษติดขึ้นมา ซึ่งได้กลายมาเป็นเทคนิคต้นแบบในการสร้าง Driver ประเภทนี้ขึ้นมาครับ
ElectroStatic เป็นไดร์เวอร์ที่มีขนาดใหญ่ ราคาแพง และต้องใช้แอมป์ช่วยในการขับเสียง เนื่องจากต้องใช้ไฟฟ้าเยอะ จึงไม่ค่อยเป็นที่นิมยมนำมาใช้เท่าไรนัก
คุณภาพเสียง ของไดร์เวอร์ชนิดนี้ ให้มิติเสียงที่กว้างกว่าหูฟังชนิดอื่น ๆ ชิ้นดนตรีโดดเด่น จับต้องได้ และเสียงเบสที่มีมวลเยอะ แรงปะทะมีความดุดัน!
4. Planar Magnetic
ไดร์เวอร์ที่นำเอาข้อดีของ Dynamic และ Electrostatic มาผสมผสานรวมกัน และใช้ความสามารถของแม่เหล็กเป็นหลัก ด้วยการส่งกระแสไฟไปที่แม่เหล็กระหว่าง Diaphragm เพื่อให้เกิดเป็นเสียงออกมานั่นเอง
Planar Magnetic นิยมนำไปใช้กับหูฟังประเภท Headphone (Full-Size) สำหรับไดร์เวอร์ประเภทนี้ หากใช้แอมป์มาช่วยขับเสียง จะสามารถยกประสิทธิภาพในการทำงานได้เป็นอย่างดี
คุณภาพเสียง ให้เสียงที่ค่อนข้างแม่นยำ และเที่ยงตรง เสียงเบสที่ค่อนข้างอิ่ม มีมวลขนาดใหญ่ แรงปะทะดี และไดนามิคที่เป็นธรรมชาติอีกด้วย