สิ่งที่นักทำเพลงต้องรู้
INSERT VS SEND
ในงาน #Music Production
การการทำเพลงหรืองาน Music #Production คำว่า Insert และ Send หมายถึง 2 วิธีที่แตกต่างกันในการใช้ Effect กับเสียงหรือสัญญาญเสียง ทั้ง 2 สิ่งนี้เป็นเครื่องมือที่สำคัญมากในกระบวนการมิกซ์ ช่วยให้โปรดิวเซอร์หรือซาวน์เอ็นสามารถปรับแต่งเสียงของแต่ละแทร็กหรือใช้ในการมิกซ์ได้ และนี้คือภาพรวมความแตกต่างระหว่างการใช้ Insert และ Send ครับ...
- จะถูกใช้โดยตรงกับแทร็กหรือช่อง Insert ในโปรแกรมทำเพลง (#DAW), #Effect เสียงจะถูกใส่เข้าไปโดยตรงกับสัญญาณ หมายความว่าสัญญาณเสียงจะไหลผ่านเอฟเฟกต์ก่อนที่จะส่งต่อไปยัง Output กระบวนการนี้ส่งผลต่อสัญญาณเสียงทั้งหมดของแทร็กที่ใช้
- มักถูกใช้สำหรับเอฟเฟกต์ที่มีจุดประสงค์หลักคือเพื่อเปลี่ยนแปลงเสียงของแทร็ก เช่น #EQ, #Compressor, #Distortion รวมไปถึง #Noise #Reduction
- ในการใส่เอฟเฟกต์แบบ Insert เราสามารถควบคุม #Parameter ได้อย่างเต็มที่ เว้นแต่ว่าในเอฟเฟกต์นั้นจะมีปุ่มที่สามารถปรับ Wet/Dry ของสัญญาณได้
- ลำดับในการใส่เอฟเฟกต์มีผลต่อเสียงที่เกิดขึ้น เราอาจจะเรียกกันใส่แบบนี้ว่า Series หรือ Serial ก็ได้เช่นกัน
- จะถูกเซตค่าบน Aux หรือ Bus ในโปรแกรมทำเพลง (DAW) แทนที่จะใส่เอฟเฟกต์โดยตรงบนแทร็ก, ซึ่งจะทำการก๊อปปี้สัญญาณเสียงดั้งเดิมส่งไปยังช่อง Aux หรือ Bus และใส่เอฟเฟกต์ไว้ในช่องสัญญาณนี้ จากนั้นก็จะทำการส่งสัญญาณดั้งเดิมที่เราก๊อปปี้มา (Dry) ผสมเข้าไปกับ Aux หรือ Bus เพื่อทำให้ผลของเอฟเฟกต์เกิดขึ้นนั่นเอง
- การ Send มักจะถูกใช้กับเอฟเฟกต์ที่ต้องการแบ่งปันให้กับหลายๆแทร็กหรือเพิ่มความลึกและพื้นที่ให้กับการมิกซ์ โดยทั่วไปที่ใช้กันเยอะๆจะเป็น Reverb, Delay, Chorus และเอฟเฟกต์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเวลาหรือการปรับแต่งเสียง (Modulation) อื่นๆ โดยปกติแล้วจะนิยมปรับค่า Mix ในเอฟเฟกต์เป็น Wet 100%
- มีประสิทธิภาพและการยืดหยุ่นในการใช้งาน เราสามารถควบคุมปริมาณเอฟเฟกต์ที่ใช้กับแต่ละแทร็กได้โดยการปรับค่าการ Send ไปยัง Aux หรือ Bus เอฟเฟกต์ ซึ่งจะช่วยให้การใช้ทรัพยากร CPU น้อยลงได้ด้วย
- การใช้งานลักษณ์นี้เราจะยังคงได้สัญญาณเสียงแบบ Dry อยู่ด้วยเป็นลักษณะสัญญาณที่ขนานกันไป ซึ่งเราอาจจะเรียกว่า Parallel ได้เช่นกัน
การเลือกใช้ Insert กับ Send ถือว่ามีความสำคัญมาก ส่งผลต่อเสียงได้โดยตรง และเราสามารถประยุกต์ใช้ได้กับการทำงานในลักษณะอื่นๆเพิ่มเติมได้อีก เช่น การทำ Bus Compression อีกด้วย
หวังว่าคอนเทนต์นี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักทำเพลงทุกคนนะครับ และเจอกันในคอนเทนต์ถัดไปครับ