ขั้นคู่เสียงที่นักดนตรีต้องรู้

ความรู้ด้านทฤษฎีดนตรีคืออาวุธลับในการพัฒนาการเล่นดนตรี เชื่อว่านักร้อง กับนักดนตรีจำนวนไม่น้อยที่เล่นดนตรีอาชีพโดยใช้ประสบการณ์ และใช้ทักษะการฟังเป็นหลัก ซึ่งบางครั้งก็มีบางอย่างที่เล่นไปหรือร้องไป แล้วไม่รู้ว่าสิ่งที่เล่นอยู่นั้นคืออะไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสเกล ขั้นคู่ คอร์ด และอื่นๆอีกมากมาย อ่านต่อเรื่อง สเกล Major และ Minor อ่านต่อเรื่อง คอร์ดสำหรับหัดทำเพลง ครบทุกคีย์ เมื่อพูดถึงเรื่องขั้นคู่ ซึ่งเป็นเรื่องที่เรียกได้ว่านักร้อง และนักดนตรีควรรู้เป็นอย่างมาก เนื่องจากบางครั้งจะต้องมีการร้องประสาน หรือการ Solo ประสานเพื่อเพิ่มสีสันให้การดนตรีให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น  ซึ่งในการร้อง หรือ Solo ประสานนั้น ปัจจุบันจะพบว่านิยมใช่คู่ประสานเป็นคู่ 3 ที่อิงตามคีย์ หรือตามสเกล หรือตามคอร์ด ซึ่งคนที่ร้อง หรือ Solo ประสานอาจจะต้องฟังตามความเหมาะสม ซึ่งการร้องประสานโดยใช้คู่อื่นก็มีบ้าง ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้ และความเหมาะสม หลังจากอธิบายการใช้แบบทั่วไปให้รู้กันแล้ว ก็มาดูต่อกันครับว่าขั้นคู่เสียงในทางทฤษฎีมีอะไรบ้าง

ทฤษฎีขั้นคู่เสียง

ก่อนอื่นเลยต้องเล่าให้ฟังก่อนว่าควรศึกษาเรื่องของ สเกล Major และ Minor ให้ละเอียดกันก่อนนะครับเพื่อที่จะนำมาเป็นหนึ่งในวิธีคิดขั้นคู่ตอนใช้งานจริง ขั้นคู่เสียงจะแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักคือ ขั้นคู่ Major และขั้นคู่ Perfect ซึ่งขั้นคู่ทั้งสองแบบนี้จะสามารถแบ่งย่อได้อีก ดังนี้

 

ขั้นคู่ Major

คู่ 2 : ห่างกับโน้ตตั้งต้น 1 เสียง สูงขึ้นครึ่งเสียงเป็น 2 Augmented >>> A2  ต่ำลงครึ่งเสียงเป็น 2 Minor >>> m2 ต่ำลงอีกครึ่งเสียงเป็น 2 Diminished >>> d2 คู่ 3 : ห่างกับโน้ตตั้งต้น 2 เสียง   สูงขึ้นครึ่งเสียงเป็น 3 Augmented >>> A3 ต่ำลงครึ่งเสียงเป็น 3 Minor >>> m3 ต่ำลงอีกครึ่งเสียงเป็น 3 Diminished >>> d3 คู่ 6 : ห่างกับโน้ตตั้งต้น 4 ½ เสียง    สูงขึ้นครึ่งเสียงเป็น 6 Augmented >>> A6 ต่ำลงครึ่งเสียงเป็น 6 Minor >>> m6 ต่ำลงอีกครึ่งเสียงเป็น 6 Diminished >>> d6 คู่ 7 : ห่างกับโน้ตตั้งต้น 5 ½ เสียง สูงขึ้นครึ่งเสียงเป็น 6 Augmented >>> A7 ต่ำลงครึ่งเสียงเป็น 6 Minor >>> m7 ต่ำลงอีกครึ่งเสียงเป็น 6 Diminished >>> d7 ขั้นคู่ Perfect คู่ 4 : ห่างกับโน้ตตั้งต้น 2 ½ เสียง  สูงขึ้นครึ่งเสียงเป็น 4 Augmented >>> A4 ต่ำลงครึ่งเสียงเป็น 4 Diminished >>> d4

ใส่ความเห็น