“Mastering” เป็นขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการผลิตเพลง ก่อนที่เพลงจะถูกปล่อยออกสู่สาธารณะ ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการปรับแต่งและเสริมคุณภาพของเพลง โดยวันนี้ ProPlugin มี 10 เทคนิคการทำ Mastering ที่จะช่วยยกระดับเพลงของเพื่อน ๆ ให้โดดเด่นกว่าใคร

1. EQing

การ EQ ปรับแต่งโทนโดยรวมของเพลงของเรา หลังจากที่มิกซ์มาแล้ว โดยเราอาจจะใช้ Low Cut หรือ High Pass Filter เพื่อตัดเสียงต่ำที่ไม่จำเป็น เช่น การตัดที่ประมาณ 20-30 Hz เพื่อเอาเสียงที่ไม่ต้องการออกจากเพลงของเรา 

หรือใช้ EQ เพื่อปรับเพิ่มหรือลดเสียงในช่วงความถี่ต่างๆ เช่น เพิ่มความถี่กลาง (Mid) ที่ประมาณ 1-2 kHz เพื่อให้เสียงร้องเด่นขึ้น หรือเพิ่มความถี่สูง (High) ที่ประมาณ 10-12 kHz เพื่อเพิ่มความสว่างให้กับเพลง

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าตอนมิกซ์ออกมาแล้วเพลงของเราออกมาเป็นยังไง และในขั้นตอนมาสเตอริ่งเราจะปรับปรุงและทำให้มันดีขึ้น ซึ่งจะแตกต่างจากการใช้ EQ เพื่อแก้ปัญหา ถ้ารู้สึกว่าเพลงของเราไม่สามารถทำให้ดีขึ้นได้ อาจจะต้องกลับไปแก้ที่ขั้นตอนมิกซ์ใหม่อีกครั้งนึง

2. Compressor

การ Compress คือการใช้ Compressor มาคุม Dynamic ให้เพลงที่มิกซ์เสร็จแล้วมีความเกาะกันมากข้น หรือสร้างโทนเพลงโดยรวมบางอย่างตามที่เราต้องการ หรือทำให้เพลงของเรามีกลิ่นอายความเป็น Analogue มากขึ้นก็สามารถทำได้ โดยอาจจะมีแนวทางการปรับประมาณนี้ 

  • ตั้ง Threshold ให้ลงมาแตะกับเสียง Input เพียงเล็กน้อยไม่มากจนเกินไปจนเสีย Mood & Tone ที่เรามิกซ์มาตอนแรก 
  • ปรับ Ratio เล็กน้อย เช่นตั้งไว้ประมาณ 2:1 หรือ 4:1 ขึ้นอยู่กับความต้องการของการควบคุมเสียงของเรา ไม่ให้บีบอัดจนเกินไป 
  • ตั้งค่า Attack Timeในการเริ่มคอมเพรสประมาณ 10 ms เพื่อรักษาความเป็นธรรมชาติของหัวเสียงให้ยังคงอยู่ 
  • ตั้งค่า Release Time ในการปล่อยคอมเพรสประมาณ 100 ms เพื่อไม่ให้เสียงเกิดการวูบวาบจนเกินไป 

3. Limiter

การใช้งาน Limiter คือการกักความดังสุดท้ายไม่ให้เกินจากค่าที่เราตั้งไว้ และแถมเรายังสามารถอัดความดังเพิ่มเข้าไปเพื่อเพิ่มคาแรคเตอร์บางอย่าง ให้เพลงพุ่ง ขึ้นได้อีกด้วย

โดยเราสามารถตั้งค่า Threshold ลงมาเพื่อเพิ่มความดังของเพลงเราให้ดังขึ้น แล้วใช้ค่า Output Ceiling ตั้งค่าให้ Limiter ไม่ปล่อยเสียงเกิน เช่นตั้งไว้ที่ประมาณ -0.1 ถึง -0.3 dB 

และใน Limiter บางตัวเราสามารถตั้งค่า Lookahead เพื่อให้ Limiter สามารถจับเสียงสูงสุดล่วงหน้าได้ เช่น ตั้งไว้ที่ 2 ms

4. Stereo Imaging

การใช้งาน Stereo Imaging เช่นการใช้ Processor เกี่ยวกับ Stereo Width เพื่อเพิ่มความกว้างของเสียงในแบบสเตอริโอ 

รวมไปถึงใช้ M/S Processing (Mid/Side) เช่น เพิ่มหรือลดเสียง Mid เพื่อเพิ่มความกว้างของ Side เพื่อขึ้น 

5. Loudness Meter (LUFS)

การใช้งาน Loudness Meter LUFS ในการตั้งค่าให้เพลงมีระดับเสียงตามมาตรฐาน เช่น -14 LUFS สำหรับการสตรีมมิ่งแต่และที่ แต่ถ้าให้แนะนำควรโหลดเพลงต้นฉบับที่เราต้องการและ Mastering ให้ความดังใกล้เคียงเนื่องจากการทำเพลงในความดังตาม Platform บางครั้งเพลงของเราจะอาจจะเบากว่าเพลงของแต่ละที่ก็ได้ 

และที่สำคัญเรื่องของ True Peak: ตรวจสอบให้ระดับเสียงสูงสุดไม่เกิน 0 dBFS โดยสามารถตั้งแค่ได้ตั้งแต่ -0.1 ลงมาเพื่อเป็น Safe Zone ไม่ให้เพลงเรา Clip

6. Monitoring

  • หูฟังเพื่อฟังรายละเอียด 
  • ลำโพงมอนิเตอร์เพื่อฟังภาพรวม ในระดับความดังที่เหมาะสมทั้งระยะใกล้และไกล 
  • ฟังเพลงในรถเพื่อดูว่าฟังดีในระบบเสียงแบบพกพารวมไปถึงลำโพงคอมและมือถือด้วย การใช้เครื่องมือ Reference Track A/B Comparison เพลงอ้างอิงโดยเทียบในเรื่องของโทน ความดัง มิติและความกว้าง เพื่อให้ยังอยู่ในมาตรฐานในปัจจุบัน ยกเว้นว่าเราอยากสร้างสิ่งใหม่ๆ อาจจะเทียบแค่เป็นแนวทางเฉยๆก็สามารถทำได้

7. Reference Track

การใช้เครื่องมือ Reference Track A/B Comparison เพลงอ้างอิงโดยเทียบในเรื่องของโทน ความดัง มิติและความกว้าง เพื่อให้ยังอยู่ในมาตรฐานในปัจจุบัน ยกเว้นว่าเราอยากสร้างสิ่งใหม่ๆ อาจจะเทียบแค่เป็นแนวทางเฉยๆก็สามารถทำได้ 

8. De-Esser

การใช้งาน De-Esser เพื่อลดย่านความถี่บางอย่างที่อาจจะเล็ดลอด โดยอาจจะตั้งค่า Frequency Range ที่ประมาณ 6-8 kHz หรือ Sweep หาย่านที่บาดหูและเป็นช่วงที่หูคน Sensitive ที่สุดในแต่ละเพลงให้เจอ และปรับค่า Threshold ให้เริ่มทำงานเมื่อเสียงซิบเกินระดับที่กำหนด

9. Phase & Mono Check

ใช้ Phase Meter เพื่อตรวจสอบการ Phase ของเพลง หรือเสียงบางอย่างที่อาจจะทำให้เกิด Phase Shift หรือ Phase Cancel ซึ่งอาจจะทำให้เสียงเราบางลงได้และควรฟังเพลงแบบ Mono ด้วยว่าเสียงเป็นอย่างไรในกรณีที่ผู้ฟังอาจจะฟังได้แค่ระบบ Mono  

10. Tonal Balance Control

การใช้เครื่องมือ Tonal Balance Control เพื่อตรวจสอบความสมดุลของโทนเสียงและปรับแต่ง EQ ให้เสียงมีความสมดุลตามที่ต้องการ โดยจะมีความแม่นยำมากขึ้น เนื่องจากว่าการใช้หูในการฟังอย่างเดียว อาจจะมีปัจจัยภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องทำให้ประสิทธิภาพการฟังลดลงได้ 

เทคนิคการทำ Mastering เหล่านี้จะช่วยยกระดับเพลงของคุณให้มีคุณภาพระดับมืออาชีพ การใส่ใจในรายละเอียดเล็กน้อย เช่น การใช้ EQ การควบคุม Dynamic หรือการตรวจสอบระดับความดัง จะทำให้เพลงของคุณโดดเด่นและฟังได้อย่างไพเราะในทุกแพลตฟอร์ม

ใส่ความเห็น