จับไมค์ให้ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง เทคนิคจับไมค์ยังไงให้ไม่หอน
ลักษณะการจับไมค์ร้องเพลงของนักร้องหรือนักดนตรีบางท่าน อาจจะด้วยความเมามันส์ในบทเพลง จึงเผลอกำหัวไมค์กันแบบไม่รู้ตัว หรือบางท่านอาจจะมองว่าเวลากำแล้วมันเท่ดี ซึ่งการกำหัวไมค์ของนักร้อง กับนักดนตรี ProPlugin แอบกระซิบบอกตรงนี้เลยครับว่า ถือเป็นเรื่องที่ Sound Engineer ส่วนใหญ่คิ้วขมวด เป็นอย่างมาก เพราะการกำหัวไมค์นั้นเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการไมค์หอน หรือเกิดอาการ Feedback (Microphone Feedback) ได้นั่นเองแล้วจับไมค์ยังไงไม่ให้ไมค์หอน ?
คำตอบก็คือสิ่งที่เราได้กล่าวไปข้างต้นนั่นเอง ซึ่งการจำไมค์เวลาร้องเพลงก็ให้จับที่ด้ามจับ หรือลำตัวไมค์ โดยหลีกเลี่ยงไม่ไปจับหรือกำที่หัวไมค์ครับ ผมเคยเห็นนักร้อง นักดนตรี และพิธีกรหลายๆ เมื่อเกิดปัญหาไมค์หอน มักจะใช้มือปิด หรือกำที่หัวไมค์เพื่อป้องกันไม่ให้ไมค์หอน ซึ่งนั่นเป็นวิธีที่อาจจะยังไม่ถูกต้องเท่าไหร่ อีกทั้งยังทำให้ไมค์หอนมากยิ่งขึ้นทำไมกำหัวไมค์แล้วไมค์หอน ?
การกำหัวไมค์ หรือ “Cupping” จะทำให้เกิด Resonance ขึ้น คือจะทำให้ความถี่เสียงช่วง 1.8-2.2 kHz เพิ่มขึ้นมาถึงประมาณ 9 dB หรือบางกรณีก็เกิดขึ้นกับความถี่ช่วงประมาณ 10kHz ซึ่งเมื่อความถี่เหล่านี้ไปออกที่ลำโพงในระบบ PA หรือ Monitor ก็จะส่งผลให้ความถี่เสียงที่ดังเพิ่มขึ้นเหล่านี้ดังเกินจนวน Loop เข้าไมค์จนเกิดอาการหอนได้ การแก้ปัญหาก็อาจจะ Cut ความถี่นี้ออกไปพอประมาณเพื่อตัดปัญหานี้ไป หรืออาจจะหาไมค์ที่ป้องกันการหอนจากการกำหัวไมค์อย่างเช่นไมค์ของสาย Beatbox อย่าง AUDIX FIREBALL V แต่ทางที่ดีที่สุดอย่ากำหัวไมค์เลยจะดีกว่าไมค์ของสาย Beatbox AUDIX FIREBALL V
ซึ่งจริงๆแล้ว ความถี่เสียงที่ผมได้กล่าวมานี้ไม่ได้ตายตัวสักเท่าไหร่ เพราะการกำหัวไมค์มีหลายแบบจนส่งผลต่อ Resonance ของความถี่เสียงสูงแน่นอน อาจจะส่งผลให้ความถี่ 3-4 kHz เพิ่มขึ้นด้วย ทางที่ดี ProPlugin ก็ยังแนะนำว่าให้หลีกเลี่ยงการกำหัวไมค์ Sound Engineer จะได้ Happy และเสียงที่ได้ก็จะออกมาดี ทำงานได้อย่างราบรื่นขึ้นทันทีแน่นอน