ส่วนประกอบของ Microphone ที่ต้องรู้

ถ้าคุณรู้จักอุปกรณ์ที่คุณใช้ดีขึ้น คุณก็จะเข้าใจการใช้งาน และเข้าใจวิธีการดูแลรักษาให้สามารถใช้งานได้นานขึ้น

ไมค์” หรือ “ไมโครโฟน” เป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับงานเสียง ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกเสียงในสตูดิโอ งาน Live Sound และงานเสียงอื่นๆ ซึ่งเป็นอุปกรณ์อย่างแรกที่จะรับเสียงจากเสียงพูด เสียงร้อง เสียงเครื่องดนตรี หรืออื่นๆ เพื่อนำไปใช้งานต่อในการบันทึกเสียง การมิกซ์ และมาสเตอร์ริ่ง โดยถ้าแบ่งชนิดตามตัวแปลงพลังงานเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้าได้ 6 แบบด้วยกัน

ไมค์ 6 ชนิดที่ต้องรู้

-ไมค์คอนเดนเซอร์ ( Condenser Microphone )

-ไมค์ไดนามิก ( Dynamic Microphone )

-ไมค์ริบบอน (Ribbon Microphone)

-ไมค์คาร์บอน ( Carbon Microphone )

-ไมค์คริสตอล ( Crystal Microphone )

-ไมค์เซอร์รามิค ( Ceramic Microphone )

ซึ่งในปัจจุบันนั้นจะพบว่ามีไมค์เพียงแค่ 3 ชนิดที่ยังใช้งานอยู่ นั่นก็คือ ไมค์คอนเดนเซอร์, ไมค์ไดนามิก และ ไมค์ริบบอน ซึ่งไมค์ทั้ง 3 ชนิดนี้จะค่อนข้างมีคาแรคเตอร์เสียงที่ค่อนข้างแตกต่างกันเนื่องจากมีความสามารถในการรับเสียงที่แตกต่างกัน โดยไมค์คอนเดนเซอร์ จะคอนข้างมีตอบสนองความถี่ที่ค่อนข้างครบกว่า และรับเสียงได้ดีกว่า ไมค์ไดนามิก และ ไมค์ริบบอน เนื่องจากไมค์คอนเดนเซอร์นั้นต้องใช้งานด้วยการจ่ายไฟ Phantom Power ไปเลี้ยงวงจร ทำให้สามารถรับเสียงได้ดี และมีความละเอียด (ไมค์ไดนามิก และ ไมค์ริบบอน เป็นไมค์ไดนามิกทั้งคู่ แต่แตกต่างกันที่ตัวแปลงพลังงานเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งไมค์ริบบอน จะมีโทนเสียงที่นวลๆ ไม่แข็ง ฟังแล้วรู้สึกเพราะ)

แต่ด้วยความที่ไมค์ริบบอนนั้นมีความเปราะบาง และต้องดูแลค่อนข้างดี (ปัจจุบันถูกออกแบบมาให้มีความคงทนขึ้นบ้างแล้ว) จึงถูกนำมาใช้แค่บางโอกาสเท่านั้น เช่นการบันทึกเสียงในสตูดิโอ เพราะว่าการใช้งาน Live Sound นั้นอาจจะต้องใช้ไมค์ที่มีความทนทาน และพร้อมลุยทุกสถานการณ์ ไมค์ริบบอนจึงไม่ถูกนิยมนำมาใช้ในงาน Live Sound ซึ่งต่างจากไมค์คอนเดนเซอร์ และไมค์ไดนามิกที่นิยมใช้งานมากกว่า ทั้งในงานบันทึกเสียงในสตูดิโอ และงาน Live Sound

วันนี้ ProPlugin จะมาแนะนำส่วนประกอบที่ต้องรู้ของไมค์คอนเดนเซอร์ และไมค์ไดนามิก ซึ่งได้รับความนิยมในการใช้งานมากที่สุดในยุคนี้

 

ส่วนประกอบของไมค์คอนเดนเซอร์ และไมค์ไดนามิก

 

ไมค์คอนเดนเซอร์ ( Condenser Microphone )

ไมค์คอนเดนเซอร์ จะมี Diaphragm ประกบ Backplate เป็นเหมือนตัวเก็บประจุ ต่อเข้ากับตัวแบตเตอรี่ และต่อตัวต้านทานคร่อมวงจรเพื่อให้กระแสให้ครบวงจรเมื่อ Diaphragm สั่นจะส่งผลให้ความจุของประจุเปลี่ยนทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้าที่จะนำไปใช้งานต่อไป

ส่วนประกอบ

  • Capsule อุปกรณ์รับเสียงของไมค์
  • Diaphragm แผ่นโลหะบางๆที่จะรับคลื่นเสียง
  • Backplate แผ่นโลหะเป็นเหมือนตัวเก็บประจุ ต่อเข้ากับตัวแบตเตอรี่ และต่อตัวต้านทานคร่อมวงจรเพื่อให้กระแสให้ครบวงจร

 

ไมค์ไดนามิก ( Dynamic Microphone )

ไมค์ไดนามิก เมื่อเสียงตกกระทบ Diaphragm แล้วเกิดการสั่นสะเทือน ทำให้ Coil ที่พันใต้ Diaphragm ซึ่งพันรอบ Magnetic Core เกิดการขยับจากการรับแรงสั่นของ Diaphragm ตัดกับสนามแม่เหล็ก เกิดเป็นแรงสัญญาณไฟฟ้าที่ขดลวด แล้วนำไปใช้งานเสียงต่อไป

ส่วนประกอบ

  • Capsule อุปกรณ์รับเสียงของไมค์
  • Diaphragm แผ่นโลหะบางๆที่จะรับคลื่นเสียง
  • Coil ขดลวดที่ใช้รับแรงสั่นของ Diaphragm
  • Magnetic Core แม่เหล็กที่ใช้ Coil พันเพื่อเป็นสนามแม่เหล็กที่จะทำให้เกิดไฟฟ้าเมื่อ Coil เคลื่อนที่ตัดสนามแม่เหล็ก

ดังนั้นเมื่อรู้จักกับส่วนประกอบ และการทำงานของทั้งไมค์คอนเดนเซอร์ กับไมค์ไดนามิกแล้ว ทุกคนก็คงจะเข้าใจ พร้อมทั้งใช้งานได้อย่างเข้าใจกันนะครับ สำหรับใครที่อยากรู้ความแตกต่างของไมค์คอนเดนเซอร์ กับไมค์ไดนามิกก็สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ไมค์Condenser vs ไมค์Dynamic

ใส่ความเห็น