

5 ขั้นตอน
แต่งเพลงแบบมืออาชีพ
เนื้อเพลงคือปัจจัยแรกที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจในบทเพลง เพราะเนื้อเพลงเป็นตัวบ่งบอกว่าเพลงจะสื่อความหมายอะไรแก่ผู้ฟัง ถ้าเนื้อหาของเพลงสื่อความหมายไม่ชัดเจน หรือมีเนื้อหาที่วกไปวนมาก็อาจจะทำให้ผู้ฟังไม่เข้าใจว่าเพลงจะสื่ออะไร การแต่งเนื้อเพลงจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากๆ ซึ่งควรต้องมีกระบวนการแต่งที่จะช่วยให้แต่งเนื้อเพลงมีความน่าสนใจ และดึงดูดผู้ฟัง ซึ่งกระบวนการแต่งเพลงของมืออาชีพแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันออกไปตามความถนัดของแต่ละบุคคล วันนี้เราจะมาแนะนำขั้นตอนการแต่งเพลงเบื้องต้นเพื่อให้มือใหม่ได้นำไปต่อยอดกัน

กำหนดว่าเพลงสื่ออะไร
การกำหนดเป้าหมายของเพลงจะช่วยให้คุณโฟกัสได้ง่ายขึ้นว่า เนื้อหาของเพลงจะไปในทิศทางไหน เพลงจะพูดถึงอะไร และช่วยให้คุณไม่หลุดกรอบของเนื้อหาเพลง แล้วคนฟังจะเข้าใจจุดประสงค์ของเนื้อหามากขึ้น ว่าจะเป็นเพลงอกหัก เพลงปลุกใจ หรืออื่นๆ

วางสตอรี่เพลง
การวางสตอรี่เพลงเป็นการกำหนดว่า แต่ละท่อนของเพลงจะเล่าเรื่องอย่างไร แล้วท่อนไหนคือท่อนสำคัญของเพลง เช่น แต่งเพลงเกี่ยวกับการโดนทิ้งขึ้นมา มีเนื้ออยู่สามท่อน โดยท่อนแรกก็เล่าความเป็นมาว่าเคยรักกันมาก มีความสุขเวลาอยู่ด้วยกัน แล้วท่อนที่สองเป็นพรีฮุก เป็นท่อนที่ตั้งคำถามแล้วว่าทำไมอยู่ดีๆ คนที่คุณรักก็มาเปลี่ยนไป และท่อนที่สามอาจจะเป็นท่อนฮุกท่อนนี้จะเป็นท่อนที่เล่าความรู้สึกของผู้ที่ถูกทิ้ง ว่าเหงาหรือเจ็บปวดมากแค่ไหน เป็นต้น

เขียนเนื้อเพลง
หลังจากวางสตอรี่เพลงแล้วก็เขียนเนื้อเพลง ส่วนสำคัญเลยคือ การใช้คำให้น่าสนใจ คือคุณต้องเขียนเพลงเหมือนกับเขียนหนังสือที่ให้ความรู้สึก อ่านแล้วอยากอ่านต่อ เนื้อเพลงก็ เช่นกัน ต้องมีความน่าสนใจถ้าเกิดได้ฟังแล้วมีความรู้สึกอยากฟังต่อ อยากติดตามเรื่องราวของเพลง ถ้าเกิดว่าคุณเขียนเพลงแล้วน่าสนใจแบบนี้ เชื่อว่าต้องมีคนชอบเพลงของคุณแน่นอน

ตรวจสอบคำ
หลังจากที่แต่งเนื้อเสร็จแล้ว สิ่งที่คุณต้องทำคือ การตรวจคำ ว่าอ่านแล้วรู้สึกต่อเนื่องไหม ร้องเป็นทำนองแล้วรู้สึกลื่นหูรู้เปล่า ฟังแล้วไม่รู้สึกฝืนๆใช่ไหม ถ้าไม่ติดปัญหาอะไรเนื้อเพลงของคุณถือว่าใช้ได้

ทำดนตรี
หลังจากแต่งเนื้อเพลงเสร็จจนรู้สึกว่าใช้ได้แล้ว สิ่งที่คุณควรทำต่อมาคือ การทำดนตรี โดยให้ทางเดินคอร์ดรองรับกับทำนองเพลงที่คุณแต่ง และที่สำคัญคือ ดนตรีต้องรองรับอารมณ์ของเพลง คุณต้องตั้งเป้าหมายว่าเพลงที่คุณแต่งนั้นต้องการให้อะไรเด่นอะไรรอง ถ้าอยากให้ร้อง และเนื้อเพลงเด่นคุณอาจจะทำดนตรีที่ฟังไม่ยากจนเกินไปจนทำให้เพลงฟังยาก เครื่องดนตรีต้องไม่แย่งซีนขณะที่เนื้อร้องเด่น
นี่เป็นเพียงการแนะนำเบื้องต้น และไม่ใช่กฎตายตัวแต่อย่างใด เพราะดนตรีคือศิลปะ คุณสร้างงานศิลปะในแบบที่คุณชอบโดยไม่ต้องมีกฎมาตีกรอบคุณไว้ แต่นั่นคุณก็ต้องดูความเหมาะสมเสมอ ฝากบทความสาระดีๆ แบบนี้ทางแฟนเพจ ProPlugin ได้ในทุกสัปดาห์ และอย่าลืมหมั่นฝึกซ้อมเป็นประจำเพื่อพัฒนาตัวเองอยู่เสมอนะครับ