ดีกว่า Mastering มาตราฐานจริงหรือไม่ ?
บางคนอาจจะเข้าใจว่าการทำ Stem Mastering ก็คือการ Mixing แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่เลย เพราะเวลาที่เรา Mix เพลง เราจะมีหลายๆ Track ที่จะต้องแก้ไขและทำให้ดีขึ้นตามขั้นตอนการ Mixing
หรือสรุปง่ายๆ คือ โดยปกติแล้วเราจะเอาไฟล์ Stereo Track ที่ Mix เสร็จแล้ว มาทำ Mastering เลยทันที
แต่ในการทำ Stem Mastering จะเป็นขั้นตอนหลังจากที่เราได้ทำการ Mixing เรียบร้อยแล้ว มาจัด Group และปรับแยกทีละ Track เช่น Group กลอง, เปียโน, เสียงร้อง, เสียงกีต้าร์ สิ่งที่ทำมาก่อนหน้านี้ให้สมบูรณ์ขึ้น
อีกทั้งยังช่วยให้ Mastering Engineer ปรับรายละเอียดได้เยอะมากกว่า และหลังการที่เรา ทำ Stem Mastering ก็ต้องทำ Mastering อีกครั้งเพื่อให้ได้ไฟล์สุดท้ายที่สมบูรณ์ที่สุด
แล้วตอนไหนล่ะที่ ควรใช้ Stem Mastering ?
ใช้ได้หลากหลายสถาณการณ์ แต่ส่วนใหญ่มักใช้กับงานที่คิดว่ายังสามารถต่อยอดต่อได้อีก หรืออยากใส่ความคิดสร้างสรรค์เพิ่มเติมแบบแยก Track เข้าไปในเพลง หรือใช้แก้ไขในกรณีที่ การ Mix นั้นยังทำได้ไม่สมบูรณ์
แต่ต้องบอกแบบนี้เลยครับว่า ข้อควรระวังของการทำ Stem Mastering โดยเฉพาะสำหรับมือใหม่ ยังมีอยู่ค่อนข้างมาก
ทั้งต้องระมัดระวังในการจัดกลุ่มประเภทของเครื่องดนตรี อีกทั้งยังต้องระวังความสมดุลในเรื่องของความดัง ความกว้าง และความถี่ สำหรับเครื่องดนตรีแต่ละชนิดที่เลือกมาปรับ เพราะแม้ว่าจะสามารถแก้ไขหรือต่อยอดภาพรวมผลงานให้ออกมาดีขึ้นได้
แต่ถ้าพลาดไปปรับจุดใด จุดหนึ่ง โดยไม่ระวังไปล่ะก็ การที่จะกลับมาแก้ไข เสียง แต่ละ Track ภายใน Stem นั้นๆ ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากเช่นกันนั่นเอง
ช่วงนี้ Influence ด้าน Mix หลายท่านเริ่มหันกลับมาใช้วิธีนี้กัน ลองศึกษาวิธ๊ใหม่ๆ เพิ่มเติมกันดู การทำเพลงของคุณอาจจะสนุกเพิ่มขึ้น ใส่ไอเดียได้มากขึ้นกว่าที่เคยก็เป็นได้