มือมิกซ์ Live Sound ควรรู้อะไรบ้าง
งานมิกซ์ Live Sound ถือเป็นงานศิลปะอีกรูปแบบหนึ่งที่จะทำเพลงดนตรีมีความน่าฟัง แน่นอนว่าดนตรีดีๆเกิดจากบทเพลงที่ถูกเรียบเรียงมาดี ประกอบกับวงดนตรีที่มีความเข้าใจในตัวบทเพลง มีทักษะที่จะสามารถบรรเลงบทเพลงแล้วสื่อความหมายของเพลงได้ดี พูดง่ายๆคือวงดนตรีที่เล่นดีนั่นเอง
ถ้าหากดนตรีเล่นดีแค่ไหนก็ตาม แต่ Sound ไม่ดี ก็อาจจะส่งผลให้โชว์นั้นดูแย่ไปเลยก็ได้ แต่ถ้า มือมิกซ์ Live Sound มีความเข้าใจในตัวบทเพลง แล้วทำสามารถ Sound ออกมาดีได้ ก็จะช่วยให้เพลง หรือโชว์นั้นออกมาน่าฟังยิ่งขึ้น
การจะเป็น มือมิกซ์ Live Sound ก็ควรจะมีความรู้เรื่อง Sound (ย้ำว่าควรจะรู้) พอประมาณเพื่อที่จะได้เข้าใจถึงปัญหาต่างๆของ Sound ว่าเกิดจากอะไร แล้วจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆใน งานมิกซ์ Live Sound เพราะงานมิกซ์ Live Sound เป็นงานที่จะต้องเจอปัญหาต่างๆ ที่ให้คุณได้แก้ไขตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นความถี่เสียงบางย่านที่สะท้อนในสถานที่ที่ทำ Live Sound มีมากเกิน, ไมค์หอน, เสียงจี่ หรืออื่นๆ
แต่สำหรับบางคนที่อาศัยประสบการณ์ในการทำ Live Sound จนชำนาญก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าคนมีทั้งความรู้ และประสบการณ์ละครับ คิดดูว่าคุณจะเป็น มือมิกซ์ Live Sound ที่ได้เปรียบคนอื่นแค่ไหน ส่วนเรื่อง Sound ที่ทำออกมาจะเป็นรูปแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับรสนิยมของแต่ละคน แต่เรื่องปัญหาเสียงนั้นก็ควรจะแก้ไขให้สมกับการเป็น มือมิกซ์ Live Sound !!!
แล้วการจะเป็น มือมิกซ์ Live Sound ควรรู้อะไรบ้าง
มือมิกซ์ Live Sound นั้นควรจะมีความรู้ที่ครอบคลุมในเรื่องของฟิสิกส์ ดนตรี และศิลปะ ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้จะช่วยให้มือมิกซ์สามารถมิกซ์เพลงออกมาได้น่าฟังยิ่งขึ้น จะมีอะไรบ้างไปดูกัน !!!
1. Acoustic กับฟิสิกส์เสียง
เรื่องของ Acoustic กับฟิสิกส์เสียง จะช่วยให้คุณมีความเข้าใจในเรื่องของธรรมชาติของเสียง ว่าเสียงเดินทางยังไง การสะท้อนของเสียง การเสริมหรือการหักล้างกันของเสียงเป็นยังไง ช่วยให้มือมิกซ์ Live Sound เข้าใจปัญหาของเสียงได้อย่างดี และมีวิธีที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องของความถี่เสียงที่ขาดๆเกินๆได้
นอกจากจะสามารถแก้ปัญหาแล้ว ก็ยังรู้วิธีการป้องกันปัญหาของเสียงที่จะเกิดขึ้นได้ เช่น การทำ Acoustic Treatment เพื่อป้องกันปัญหาเสียงสะท้อนที่มีมากเกินไป เสียงเบสที่มีเสียงค้างยาวหรือมี Resonance ที่มากเกินไปสำหรับผับ ร้านอาหาร สถานที่จัดคอนเสิร์ต หรือสตูดิโอสำหรับบันทึกเสียง และห้องสำหรับมิกซ์เพลงได้
2. ฟิสิกส์ไฟฟ้า
แน่นอนว่าการเป็น มือมิกซ์ Live Sound ไม่ได้แค่ทำงานเรื่องเสียงเท่านั้น เพราะคุณต้องทำงานร่วมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดเสียง คุณควรจะรู้เรื่อง Harmonic ของเสียงกับ Harmonic ทางไฟฟ้าว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร
อุปกรณ์เสียงทุกอย่างนั้นเรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดเลยก็ว่าได้ ด้วยความที่เมื่อเราปรับปุ่มอะไรไปสักอย่างนั้น มันย่อมจะส่งผลต่อสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งสัญญาณไฟฟ้านั้นจะถูกนำไปแปลง และขยายเป็นเสียงต่อไป นั่นหมายความว่า ทุกครั้งที่เราหมุนปุ่มอะไรไปก็จะส่งผลต่อเสียงเสมอ
ซึ่งคุณก็ควรจะรู้ว่าอุปกรณ์ต่างๆ ทำงานยังไง ส่งผลอะไรต่อสัญญาณไฟฟ้าที่จะนำไปเปลี่ยนเป็นเสียงบ้าง เพราะมันจะทำให้คุณเข้าใจว่าปัญหาของเสียงเมื่อผ่านอุปกรณ์จะแก้ไขยังไงได้บ้าง เพราะถ้าคุณปรับไปไม่เข้าใจคุณก็อาจจะปรับมั่วจนปัญหาของเสียงที่ต้องการแก้นั้นไม่หายสักที หรือบางครั้งอาจจะทำให้เกิดปัญหาใหม่ได้
Filter หรือตัวกรองย่านความถี่
High Pass Filter คือ Filter ที่ยอมให้ความถี่ย่าน High ผ่าน(กรองความถี่ย่าน Low ออก) ซึ่งการทำงานก็จะเหมือนกับการ Low Cut
Low Pass Filter คือ Filter ที่ยอมให้ความถี่ย่าน Low ผ่าน(กรองความถี่ย่าน High ออก) การทำงานจะเหมือนกับ High Cut
Band Pass Filter (BPF) ประกอบด้วย High Pass Filter และ Low Pass Filter รวมกัน คือ Filter ที่ยอมให้ความถี่ย่านใดย่านหนึ่งผ่านไปได้
Band Stop Filter (BSF, Nocth Filter) คือการเอาความถี่ย่านที่เราไม่กำหนดหรือไม่การออกไป หรือการ Cut หรือ Boost นั้นเอง
3. Signal Flow
การเดินทางของสัญญาณ หรือ Signal Flow ที่กว่าจะทำให้เสียงเข้าไมค์ แล้วไปออกสู่ลำโพง PA นั้นต้องผ่านอะไรบ้าง สัญญาณเดินทางยังไง ถูกขยายยังไง เช่น Signal Flow ของระบบเสียง Live Sound โดยการเดินทางของเสียงจะเป็นดังนี้
3.1 ต้นกำเนิดเสียง (Acoustic Sound)
เสียงเกิดจากแรงสั่นของวัตถุ หรือเส้นเสียงของคน หรือสัตว์ ทำให้เกิดการอัดการอัดอากาศแบบไปกลับ เรียกว่า “Sound Pressure Variable” ทำให้เกิดคลื่นเสียงขึ้นมา หน่วยของความดัง หรือแรงดันเสียง (Sound Pressure Level) จะเป็น dBSPL
3.2 ตัวแปลงสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า (Transducer)
ตัวแปลงสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ทุกคนจะรู้จักกันดีคือ ไมค์ ปิ๊คอัพกีตาร์ โดย สัญญาณไฟฟ้าที่แปลงมาก็จะมีหน่วยเป็น โวลต์ (V.) สัญญาณจากไมค์ ก็จะมีค่าประมาณ 0.001 V. ถึง 0.01 V. (1 mV. ถึง 10 mV.) เมื่อแปลงค่าเป็นแรงดันสัญญาณไฟฟ้าก็จะอยู่ที่ประมาณ -60 dBV ถึง -40 dBV ซึ่งในไมค์แต่ละตัวมีค่าการรับเสียงไม่เท่ากัน ความต้องการสัญญาณในการใช้งานคือ 1 V โดยประมาณ แสดงว่า แรงดันสัญญาณจากไมค์ที่ได้มาต้องการอัตราขยายเพิ่มเพื่อนำไปใช้งาน
3.3 ปรีแอมป์ (Preamplifier) ขาเข้ามิกซ์
ปรีแอมป์ทำหน้าที่ขยายสัญญาณเพื่อให้ได้ประมาณ 1 V โดยจะขยายสัญญาณไมค์ให้แรงหรือดังขึ้นก่อนที่จะผ่าน Master
ในปรีแอมป์จะมี มิเตอร์ (Meter) คือ VU, VI Meter โดยสัญญาณที่ผ่านมิเตอร์ตัวนี้จะแค่เป็นตัววัดค่าสัญญาณว่าแรงพอใช้หรือยัง ซึ่งปรีแอมป์ นี้จะอยู่ในมิกซ์ จากนั้นก็จะผ่าน Compressor, EQ และเอฟเฟคต่างๆในมิกซ์
3.4 EQ+Cross Over หรือ Processor
EQ ขาออกนี้เอาไว้จัดการภาพรวมของความถี่เสียงทั้งระบบ และใช้ Cross Over ในการแยกความถี่ของลำโพงกลางแหลม กับลำโพง Sub ซึ่งบางครั้งก็อาจจะใช้ Processor ซึ่งรวม EQ+Cross Over ฟังก์ชันอื่นๆไว้
3.5 ปรีแอมป์ และ Load
สัญญาณจาก EQ+Cross Over หรือ Processor จะผ่านปรีแอมป์ หากมี Load ของสัญญาณ (หน่วยคือ decibel milliwatts, dBm) ก็จะต้องมีการผ่านปรีแอมป์ อีกก่อนเข้าแอมป์ (หน่วยคือ decibel Watt, dBW) จากนั้น ก็ผ่านเข้าแอมป์ และส่งต่อเข้าลำโพง PA ซึ่งมีหน่วยความดังเป็น dBSPL.
4.เข้าใจแนวเพลง
หากคุณเข้าใจแนวเพลงจะช่วยให้มิกซ์เพลงได้อารมณ์ของเพลงได้อย่างมาก เพราะถ้าคุณไม่เข้าใจแนวก็อาจจะทำให้ Mood ของเพลงเสียงไม่ตรงตามที่นักดนตรีต้องการได้