พื้นฐานการปรับ EQ สำหรับเสียงสแนร์ [Snare]
การปรับ EQ ให้กับเสียงสแนร์เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญ ที่จะช่วยสร้างตัวตนของเครื่องดนตรีและยังมีผลต่อการมิกซ์เพลงด้วยเช่นกัน สำหรับเพื่อน ๆ ที่ยังไม่รู้ว่าควรปรับ EQ ยังไงดี ?
ProPlugin จะขอพาเพื่อน ๆ มาทำความเข้าใจวิธีการปรับ EQ แบบพื้นฐานกันครับ ไปดูกันเลยยย
1. HPF (Low-Cut) ย่าน 70 Hz
การใช้ HPF จะช่วยตัดเสียงต่ำที่ไม่จำเป็นออกไป ซึ่งจะทำให้เสียงสแนร์ดูสะอาดขึ้นและเพิ่มพื้นที่ให้กับเสียงต่ำอื่น ๆ ในมิกซ์
ผลลัพธ์: เพิ่ม Headroom ให้กับเสียงต่ำ และเพิ่มความสะอาดย่าน Low-End
2. การเพิ่มหรือลดย่าน 150-200 Hz
เพิ่ม: ช่วยเพิ่มความหนาและความอบอุ่นให้กับเสียงสแนร์
ลด: หากเสียงสแนร์มีความบวมเกินไป การลดในย่านนี้จะช่วยให้เสียงชัดเจนขึ้น
3. การลดย่านประมาณ 400 Hz
ย่านนี้มักจะมีเสียงที่ฟังเป็น "Boxy" หรือ "Wobbly" ซึ่งอาจทำให้เสียงดูก้อง (Resonance) หรือไม่ชัดเจน
ผลลัพธ์: ลดเสียงที่ไม่ต้องการและเพิ่มความชัดเจนให้กับเสียงสแนร์
4. การเพิ่มหรือลดย่านประมาณ 800 Hz
เพิ่ม: ช่วยให้เสียงสแนร์มีความกลมกลืนและชัดเจน
ลด: หากสแนร์มีเสียง "Ring" หรือเสียงสะท้อนที่ไม่ต้องการ การลดย่านนี้อาจช่วยได้
5. การลดย่านประมาณ 3-5 kHz
ย่านนี้อาจทำให้เสียงสแนร์มีเสียงหึ่งหรือ "Harsh"
วิธีการ: ใช้ Dynamic EQ เพื่อลดเฉพาะช่วงที่เสียงหึ่งออกมามากเกินไป
6. การเพิ่มย่าน 5 kHz
การเพิ่มในย่านนี้จะช่วยให้เสียงสแนร์มีความใสและพุ่งขึ้นมาในมิกซ์
ผลลัพธ์: เพิ่มความชัดเจนและความเด่นให้กับเสียงสแนร์
7. LPF (High-Cut) ย่าน 15 kHz
ตัดย่านสูงที่ไม่ได้ใช้และไม่จำเป็นออกไปเพื่อเพิ่ม Headroom ให้กับเสียงแหลมสูงอื่น ๆ
ผลลัพธ์: ลดการสร้างเสียงที่ไม่ต้องการในย่านความถี่สูง
#คำแนะนำเพิ่มเติม
เมื่อปรับ EQ ให้กับเสียงสแนร์แล้ว ก็อย่าลืมเทียบกับเสียงสแนร์ที่เป็น Reference ให้สมดุลกับเสียงกลองอื่น ๆ ด้วยเพื่อให้แน่ใจว่าเสียงสแนร์ของเพื่อน ๆ อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและเข้ากับเพลงอย่างลงตัว
#ProPlugin #AmplifyYourDreams