พื้นฐาน #EQ เสียง #กระเดื่อง
มีแนวทางอย่างไร ? ลองดูที่ภาพได้เลยค๊าบ
.
.
.
▪️ HPF (Low-Cut) ย่าน 20 Hz
Filter ย่านต่ำที่ไม่ได้ยินและเพิ่ม Headroom ให้กับเพลง ในย่านนี้อาจจะไม่จำเป็นมากสำหรับงานเพลง ซึ่งเป็นความถี่ที่ค่อนข้างต่ำเกินไป ลดย่านนี้จะทำให้ย่านต่ำมีความสะอาดและไม่อึดอัด
▪️ เพิ่มย่าน 50-80 Hz
Sweep เพื่อหา Body และเพิ่มความหนา หากอยากได้ความหนาของเสียงกระเดื่อง ย่านนี้สามารถช่วยได้ ยิ่งเป็นแนว Pop, R&B ด้วยแล้วจะทำให้ Groove มีความหนึบขึ้น ฟังเพลินกันเลยทีเดียว
▪️ ตัดย่านประมาณ 400 Hz
ลดความแข็งกระด้างและลด Boxy (ความถี่ที่ทำให้เกิดเสียงก้อง ว๊องๆ) เวลาที่เรา Miking กลองและบันทึกเสียงมา บางครั้งอาจจะเกิดเสียง Boxy ที่ติดมากจากย่านประมาณ 400 Hz ได้ การลดย่านนี้จะช่วยให้เสียงก้องย่านนี้หายไป สามารถใช้ได้กับงาน Live Sound เช่นเดียวกัน
▪️ เพิ่มย่านประมาณ 3.5 kHz
เพิ่มความจิกให้เสียงกระเดื่อง ทำให้เสียงพุ่งออกมาจากเพลง สำหรับย่านนี้ดนตรีแนวร็อค ยิ่งแนวเมทัลแล้วจะชอบย่านนี้มากๆ ทำให้เสียงกลองมาความพุ่งจิกออกมาจากเพลง ยิ่งเวลาเปิดเพลงผ่านโทรศัพท์แล้ว จะได้ยินเสียงจิกนี้แบบสะใจกันเลยทีเดียว ส่วนถ้าแนวป๊อป, R&B, EDM อาจจะไม่ต้องใช้ย่านนี้เยอะมากก็ได้ แค่ให้เสียงกลองโผล่อออกมาจากมิกซ์ก็พอ
▪️ LPF (High-Cut) ย่าน 15 kHz
Filter ย่านสูงที่ไม่จำเป็น เพื่อเพิ่ม Headroom ให้กับเพลง ปัญหาอย่างนึงสำหรับมือมิกซ์ก็คือ มิกซ์ออกมาแล้วเสียงตีกัน มิกซ์ออกมาแล้วมัว ฟังเครื่องดนตรีบางอย่างไม่ได้ยิน เพราะฉะนั้นเราอาจจะต้องมองภาพรวมความถี่ของเพลงทั้งหมดให้ออก เพื่อจัดระเบียบความถี่ที่ทับซ้อนกัน ยิ่งย่านแล้วที่หูของเราจะเซนซิทีฟมาก ถ้าเยอะเกินไปก็ทำให้เพลงฟังบาดหูเกินไป ซึ่งเสียงกระเดื่องอาจจะยังไม่จำเป็นสำหรับย่านนี้
*อย่างไรแล้ว ภาพนี้เป็นแนวทางสำหรับการมิกซ์เท่านั้น ควรประยุกต์ใช้ร่วมกับแหล่งเสียงที่เราได้มาอีกครั้ง และควรมิกซ์ร่วมเบสเสมอ เพื่อป้องกันความถี่ที่ทับซ้อนกันครับ

ใส่ความเห็น