ช้อปปัง ได้ตังค์คืนกับ ProPlugin ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0 ลดหย่อนภาษีสูงสุด 50,000 บาท

Easy E-Receipt 2.0 คืออะไร ?

Easy E-Receipt 2.0 ( ชื่อเดิม : ช้อปดีมีคืน , e-Refund ) เป็นอีกหนึ่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2568 ที่ให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถนำค่าใช้จ่ายการซื้อสินค้าและบริการตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท มาใช้หักลดหย่อนภาษีได้ โดยหลักการคล้ายกับปีที่ผ่านมา แต่มีบางเงื่อนไขที่ปรับใหม่

เงื่อนไขมาตรการ Easy E-Receipt 2568

- ใช้ลดหย่อนภาษี ปี 68 (ยื่นแบบต้นปี 69) นำค่าใช้จ่ายไปรับสิทธิได้สูงสุด 50,000 บาท
- ระยะเวลาของโครงการ ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568
- ต้องเป็นสินค้า-บริการจากร้านที่สามารถออกกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือ มีใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เท่านั้น

ช่องทางที่เข้าร่วม

• ProPlugin Flagship ฟอร์จูนทาวน์ชั้น 3
• ช่องทาง ออนไลน์ www.ProPlugin.com, Facebook, Line OA
• ช่องทาง Marketplace Shopee, Lazada, NocNoc, TikTok
* สำหรับช่องทางออนไลน์ และ Marketplace ตัดยอดชำระเงินภายใน 15:00 น. วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2568 กรณีชำระเงินหลัง 15:00 น. จะไม่สามารถดำเนินการให้ได้

วิธีขอใบกำกับภาษีอิเล็คทรอนิกส์

• ทางร้านค้า ProPlugin Flagship ให้แจ้งความต้องการเอกสารที่พนักงานขาย พร้อมให้ข้อมูล ชื่อ - นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล์ (สำหรับส่งใบกำกับภาษี อิเล็คทรอนิกส์)
• ช่องทาง Facebook, Line OA ให้แจ้งความต้องการต้องการผ่านทางแชท หลังทำการโอนเงิน
• ช่องทาง www.ProPlugin.com ให้กดเครื่องหมายถูกที่ช่อง “ต้องการใบกำกับภาษี” ในหน้าการกรอกรายละเอียดจัดส่ง และกรอกชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวประชาชน และอีเมล์ ลงไปในช่องด้านล่าง

Easy E-Receipt 2.0 ต่างจากเดิมยังไง

Easy E-Receipt 2567

ลดหย่อนสูงสุดถึง 50,000 บาท

• ใช้จ่ายซื้อสินค้า และบริการที่กําหนด

Easy E-Receipt 2.0

ลดหย่อนสูงสุดถึง 50,000 บาท

• วงเงิน 30,000.- ใช้จ่ายซื้อสินค้า และบริการที่กําหนด

• วงเงิน 20,000.- ใช้จ่ายร้านวิสาหกิจ ชุมชน SMEs และร้านค้า OTOP ที่อยู่ในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์

อัตราคืนภาษี Easy E-Receipt 2568

 รายได้สุทธิต่อปี (บาท)

ฐานภาษี เงินได้ฯ

เงินภาษีคืนสูงสุด
(กรณีใช้จ่าย 50,000 บาท)

150,000 บาท

ยกเว้นภาษี

500 บาท

150,001-300,000 บาท

5%

2,500 บาท

300,001-500,000 บาท

10%

5,000 บาท

500,001-750,000 บาท

15%

7,500 บาท

750,001-1,000,000 บาท

20%

10,000 บาท

1,000,001-2,000,000 บาn

25%

12,500 บาท

2,000,001-5,000,000 บาn

30%

15,000 บาท

5,000,001 บาทขึ้นไป

35%

17,500 บาท

ขั้นตอนการขอใบกำกับภาษีอิเล็คทรอนิกส์

 1.หยิบสินค้าใส่ตะกร้า

2.ดำเนินการสั่งซื้อ

3.เลือก ต้องการใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ แล้วกรอกข้อมูลของคุณในช่องด้านล่าง

4. นำใบกำกับภาษีที่ ProPlugin ออกให้เพื่อขอลดหย่อนภาษี เมื่อยื่นภาษีเงินได้ประจำปี 2567

Q&A มาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” ช้อป ปีใหม่ ได้ ลดหย่อนภาษี

Q.ใครใช้สิทธิหักลดหย่อนตามมาตรการ “Easy E-Receipt 2.0”

A : ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่านั้น

Q : มาตรการ Easy E-Receipt 2.0ให้สิทธิประโยชน์อะไร

A : ให้หักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ได้สูงสุด 50,000 บาท

Q : ต้องซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการแบบใดจึงได้สิทธิหักลดหย่อนตามมาตรการนี้

A: (1)หักลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องมีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) แบบเต็มรูปเป็นหลักฐาน หรือผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องมีใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เป็นหลักฐาน

(2)หักลดหย่อนได้เพิ่มอีกตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 20,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการดังต่อไปนี้ โดยต้องมี e-Tax Invoice แบบเต็มรูป หรือ e-Receipt เป็นหลักฐาน

• ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว

• ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชนที่ได้จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร

• ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ได้จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม

Q : การซื้อสินค้าหรือการรับบริการจากผู้ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถนำมาหักลดหย่อนได้ไหม

A : ได้เฉพาะกรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการดังต่อไปนี้

(1) หนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร

(2) หนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

(3) สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว

(4) สินค้าหรือบริการของวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร

(5) สินค้าหรือบริการของวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม

Q : ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการใดที่ไม่สามารถหักลดหย่อนได้

A : ค่าซื้อสินค้าและบริการที่ไม่สามารถนำมาใช้สิทธิหักลดหย่อนได้ ได้แก่

(1) ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์

(2) ค่าซื้อยาสูบ

(3) ค่าซื้อน้ำมัน ค่าซื้อก๊าซ และค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเติมยานพาหนะ

(4) ค่าซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และค่าซื้อเรือ

(5) ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต

(6) ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาระหว่างวันที่ 16 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 เช่น ค่าสมาชิกต่าง ๆ

(7) ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย

(8) ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว

(9) ค่าที่พักในโรงแรม

(10) ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย