เพื่อนๆหลายคนอาจจะทำเพลงเป็นงานอดิเรก หรือ อาจจะทำเพราะความชอบ แต่ความชอบของเราก็สามารถประกอบอาชีพได้นะ วันนี้เรามาดูกันว่าคนที่เก่ง "เสียง" ทำงานอะไรได้บ้าง มาดูกันเลยครับ
 
1.Boom Operator : หรืออาจจะเรียกว่า Boom Man ก็ได้...ทำหน้าที่ในการจัดการระบบต่างๆเกี่ยวกับไมค์บูม ส่วนใหญ่เราพบในงานเกี่ยวกับการถ่ายทำวิดีโอ ไม่ว่าจะเป็นละคร ซีรีย์ หรือภาพยนตร์ ต้องมีทักษะในการถือไมค์ให้รับเสียงในตำแหน่งที่ดีที่สุด ในบางที่ Boom Operator จะทำหน้าที่ในการบันทึกเสียงด้วยเครื่อง Audio Recorder ไปด้วย ซึ่งถือว่าเป็นอีก 1 อาชีพที่ท้าทายเลยทีเดียว
2.Music Score Composer : ทำหน้าที่ผลิตเสียงดนตรีประกอบภาพยนตร์หรือซีรีย์ ดนตรีที่ทำส่วนใหญ่แล้วจะนำมาประกอบกับฉากต่างๆในงานภาพยนตร์ ซีรีย์ หรือ ละคร จะต้องมีความเชี่ยวชาญด้านของดนตรีประเภท Orchestra เป็นพิเศษด้วย ซึ่งเราได้ยินบ่อยๆจะเป็นแนว Cinematic Music ที่บรรเลงให้เข้าถึงอารมณ์กับวิดีโอ
3.Foley Artist / Recordist : ทำหน้าที่ในการผลิตเสียงประกอบ (Sound Effect) ในสตูดิโอ จะทำในกระบวนการ Post Production คือเติมเสียงประกอบของภาพยนตร์หรือเกมให้สมบูรณ์ โดยการออกแบบเสียงต่างๆจากสิ่งรอบตัวที่มี ให้มีความใกล้เคียงและสมจริงที่สุดโดย Foley Artsit จะทำหน้าที่เหมือนักแสดงคนนึงที่ออกท่าทางและทำให้เกิดเสียงตามภาพที่เราเห็น เช่น เสียงย่ำเดิน เสียงชักปืน และอื่นๆอีกมากมาย ส่วน Foley Recordist จะทำหน้าที่ในการบันทึกเสียงนั่นเอง
4.Post Production Audio Engineer : ทำหน้าที่ในการทำเสียงหลังจากที่มีการถ่ายทำมาเสร็จแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกเสียง (Recording) ผสมเสียง (Mixing) หรือ การนำเสียงดนตรีหรือเสียงประกอบต่างๆมาต่อเติมให้งานมีความสมบูรณ์มากขึ้น อาชีพนี้ก็จะมี Sound Stock ส่วนตัวที่ค่อนข้างเยอะและใช้งานบ่อยๆ เพื่อทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้นนั่นเอง
5.Vocal Director : ทำหน้าที่ในการควบคุมการบันทึกเสียงร้อง ดึงศักยภาพของนักร้องออกมาให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะด้านอารมณ์และเทคนิคต่างๆ ต้องมีความเข้าใจและสามารถตีความหมายของเพลงได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญควรเป็นคนที่มีหูที่ดี ไม่เพี้ยน เพื่อที่จะได้ควบคุมการอัดร้องให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
6.Studio Manager : ทำหน้าที่ในการจัดการระบบต่างๆสตูดิโอ ดูแลเรื่องของกลยุทธ์ในการทำการตลาดของห้องอัด คอนเทนต์ การตั้งราคา จัดโปรโมชัน และทรัพยากรบุคคล หรืออื่นๆ ซึ่งมีความสำคัญมากในการขับเคลื่อนสตูดิโอให้เป็นที่รู้จัก และการสร้างรายได้เป็นอย่างมาก
7.Chief Audio Engineer : ถือว่าเป็น Head ในการดูแลงานด้านเสียงในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจในด้านต่างๆ ทั้งการบริหารและดูแลภาพรวมขององค์กร ดูแลเรื่องของงบประมาณในการทำการตลาดไม่ว่าจะเป็น Offline และ Online Marketing
8.Music Producer : เป็นผู้ที่ดูแลภาพรวมของการผลิตผลงาน การคัดเลือกศิลปิน Mood/Tone และอารมณ์ของเพลง ในปัจจุบัน Producer อาจจะสามารถทำหน้าที่ในการทำเพลง แต่งเนื้อร่วมด้วย ซึ่งถือเป็นอีก 1 อาชีพที่หลายคนใฝ่ฝันเลยทีเดียว
9.Mixing & Mastering Engineer : ทำหน้าที่ในการผสมเสียงและทำมาสเตอร์เพลงให้ออกมาสมบูรณ์ที่สุด ทักษะที่โดดเด่นคือการฟังความถี่ ความดัง มิติ ต่างๆได้เป็นอย่างดี รวมถึงต้องมีระบบการฟังที่เป็นมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบ Monitor ที่มีความแม่นยำ อุปกรณ์หรือทักษะในการใช้ Audio Processing ต่างๆเช่น EQ, Compressr, Delay & Reverbs รวมไปถึงความสามารถในการจัดการระบบสัญญาณเสียงต่างๆด้วย
10.Recording Engineer : ทำหน้าที่ในการบันทึกเสียงเป็นหลัก สามารถเก็บแหล่งเสียง (Source) ออกมาให้มีคุณภาพมากที่สุด มีความรู้ความสามารถเป็นอย่างดีในการเลือกใช้ไมค์สำหรับเสียงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบันทึกเสียงร้องและเครื่องดนตรี
11.SFX Creator : เป็นผู้ผลิตเสียงประกอบ ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกเสียงจากสถานที่จริง หรือสร้างเสียงขึ้นมาสิ่งต่างๆรอบตัว เพื่อนำมาขายให้กับผู้ที่ต้องการเสียงเหล่านั้นนำไปโหลดใช้งาน ถือว่าเป็นอาชีพที่น่าสนใจมากๆ เป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ด้านเสียงอีกรูปแบบหนึ่ง โดยสามารถนำไปขายตามแพลตฟอร์มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Envato Element, Motion Array หรือเปิดเว็บไซต์เพื่อขายเสียงประกอบโดยเฉพาะเองก็สามารถทำได้
12.Sound Designer : ทำหน้าที่ในการออกแบบเสียงประกอบเพื่อตอบโจทย์งานด้านต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ ดนตรี ซีรีย์ และอื่นๆ โดยจะต้องมีความเชี่ยวชาญในการนำเสียงต่างๆมาออกแบบดัดแปลงให้เหมาะสม ทำให้มีความสมจริง หรือทำให้เหนือจินตนาการเป็นเสียงแปลกๆก็ทำได้ สามารถใช้ Synthesizer ได้เป็นอย่างดีในการนำคลื่นเสียงรูปแบบต่างๆมาออกแบบให้น่าสนใจได้อีกด้วย
 
เป็นยังไงกันบ้างครับ กับ 12 อาชีพที่ทางโปรปลั๊กอินรวบรวมมาให้ในวันนี้ หวังว่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆทุกคนนะครับ

ใส่ความเห็น