EDIT ดีเพลงก็ปัง EDIT พังเพลงก็อาจจะฟังไม่ดี การ EDIT ร้องเป็นขั้นตอนแรกที่ควรทำหลังจากบันทึกเสียงมา เพื่อที่จะจัดการความผิดพลาด หรือปรับปรุงให้เสียงร้องมีความสมบูรณ์ หรือมีความเหมาะสมกับตัวเพลง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้มิกซ์ต้องการให้ภาพรวมของเพลงเป็นอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการ EDIT จังหวะ, ความดังเบา, หรือการ Tune โน้ตเสียงร้องให้เข้ากับเพลงมากขึ้น ซึ่งรายละเอียดของงานนี้บอกเลยว่ายากมากๆ ซึ่งวันนี้ ProPlugin ได้นำ TIPS การ EDIT ร้องแบบเบื้องต้นมาฝากพี่ๆน้องๆ จะมีอะไรบ้างไปดูกัน 7 ขั้นตอน “Edit” เพลงยังไงให้ปัง 1. เลือกเทคที่ดีที่สุดมา เพื่อให้ได้เสียงร้องที่ดีที่สุดมาอยู่ในเพลงของคุณ ควรจะต้องเลือกเทคที่มีเสียงที่ดี อารมณ์ที่เข้าถึงเพลงที่สุด หากมีบางเทคที่คุณชอบมากๆแล้ว แต่ว่ามีอยู่ 1 คำที่คุณไม่ชอบ คุณก็อาจจะตัดเอาคำเดียวกันที่ดีที่สุดจากเทคอื่นมาใส่ได้ 2. จัดการ Proximity Effect กับ Sibilance Proximity Effect คือเสียงลมกระแทกไมค์ที่เกิดจากคำที่มี พ. ท. ธ. หรืออื่นๆที่ส่งผลให้ลมกระแทกไมค์จนเกิดอาการเบลอ หรือความถี่ย่านเสียงต่ำที่เกิดจากลมทำให้คำนั้นฟังดูอู้ หรือเบลออาจจะจัดการด้วยการลม Gain เฉพาะคำนั้นตรงช่วงที่ลมหรือแทก หรืออาจจะใช้ EQ ช่วย Sibilance คือเสียงที่เป็นเสียงจาก ซ. ส. หรือคำอื่นๆที่ส่งผลแบบเดียวกันซึ่งอาจจะแก้ด้วย EQ ความถี่ที่เป็นปัญหา หรือสามารถแก้ปัญหาด้วย iZotope RX9 ได้ด้วยฟังก์ชัน De-ess ได้ 3. แก้ไขจังหวะ การแก้ไขจังหวะเป็นการทำให้จังหวะของคำร้องมีความตรงกับสัดส่วนของเพลงมากขึ้น ลองนึกภาพว่า หากเครื่องดนตรีทุกชิ้นจังหวะตรงหมด แต่ร้องคร่อมจะแปลกแค่ไหน ยกเว้นเสียแต่ว่าเป็นความตั้งใจ หรือแนวเพลงบางแนวร้องไม่ตรงจังหวะบางครั้งฟังแล้วเข้ากับเพลงมากกว่า โดยการแก้ไขจังหวะอาจจะต้องตัด Wave บางช่วงเพื่อขยับแค่บางคำให้ตรงจังหวะ 4. ใช้ Fade การตัด Wave ในขั้นตอน EDIT นั้นจำเป็นที่จะต้องมีการทำ Fade In/Out เพื่อไม่ให้มีเสียงการเปลี่ยน Wave กะทันหันจนเกิดเสียงดัง “ปั๊ก” หรือ “แป๊ะ” ซึ่งการต่อ Wave เข้าด้วยกันนั้นอาจจะต้องมีการ Cross Fade ด้วย 5. จัดการเสียงรบกวน เป็นการตัดเสียงรบกวนที่ไม่ต้องการออกไป เช่นเสียงแอร์ เสียงเก้าอี้ เสียงขยับตัว และเสียงอื่นๆที่ไม่ต้องการบันทึกมา อาจจะใช้ Noise Gate หรือ iZotope RX9 จัดการกับปัญหานี้ 6. Tune เสียงร้อง เป็นการปรับเสียงร้องให้ตรงคีย์เพลง โดยอาจจะใช้ Auto Tune หรือใช้วิธีการ Tune ด้วย Melodyne แบบ Manual เลยก็ได้ บางครั้งผู้ EDIT ก็สามารถปรับเปลี่ยนโน้ตตามที่ Producer ต้องการได้เลย 7. จัดการ Gain Stage Gain Stage เป็นกระบวนการเพื่อให้แน่ใจว่าเสียงได้รับการปรับให้ในระดับที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการใส่ Processor ถัดไป และมีการจัดการ Gain หลังจากใส่ Processor อีกครั้งเพื่อให้มีระดับสัญญาณที่เท่าเดิม (เราจะมาพูดในบทความถัดไป)