ลำโพง active กับ ลำโพง passive ต่างกันอย่างไร?

ซื้อลำโพงมาผิดชีวิตอาจจะเปลี่ยนได้ ถ้าตอนซื้อไม่ดูให้ดีอาจจะต้องมีการเสียตังเพิ่ม   จากบทความที่แล้ว ที่เราได้พูดถึงของประเภทลำโพงของลำโพง PA ไปว่ามีกี่ประเภทใหญ่ๆ ทั้งลำโพงแบบ Line Array และ ลำโพงแบบ Point Source มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหน้าตา การทำงานของตัวลำโพง มุมการกระจากเสียงของลำโพงแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร และความแตกต่างในการใช้งานว่าแต่ละแบบเหมาะกับงานแบบไหน หรือสถานที่แบบใด ซึ่งสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3tgnE0k   ในการเลือกซื้อลำโพงนั้นคุณจะต้องรู้ก่อนว่าคุณจะซื้อไปใช้งานอะไร จะเอาไปใช้เป็นลำโพง PA หรือใช้มิกซ์เสียงใน Studio และที่สำคัญ ต้องการลำโพง Active หรือลำโพง Passive ?   ซึ่งจากบทความที่ได้กล่าวไปข้างต้นนั้นเป็นการพูดถึงประเภทการใช้งานที่แบ่งตามรูปแบบการกระจายเสียงของตัวลำโพง PA ซึ่งลำโพงที่ใช้ในงานเสียงก็ยังมีลำโพงประเภทที่ใช้ในสตูดิโอบันทึกเสียงอีกเช่นกัน ซึ่งลำโพงเหล่านี้ก็สามารถแบ่งเป็นแบบ ลำโพง Active และลำโพง Passive ได้อีก  


แล้วลำโพง Active ต่างกับลำโพง Passive อย่างไร ?

ถ้าให้ตอบแบบกำปั้นทุบดินเลย ลำโพง Active คือลำโพงที่มีแอมป์ในตัว ส่วนลำโพง Passive คือลำโพงที่ไม่มีแอมป์ในตัว ซึ่งต้องใช้เพาเวอร์แอมป์จากภายนอกมาช่วยในการเสียง ซึ่งถ้าจะให้ตอบแบบละเอียดก็สามารถตอบได้ดังต่อไปนี้  

 

1. ลำโพง Active

ลำโพง Active คือลำโพงที่มีแอมป์ขับในตัว สามารถต่อสัญญาณเข้าไปแล้วก็เปิดฟังได้เลย โดยไม่ต้องใช้งานร่วมกับเพาเวอร์แอมป์จากภายนอก ซึ่งปัจจุบันก็สามารถพบได้กับลำโพง PA ทั่วไป ทั้งลำโพง Array และลำโพง Point Source ข้อดีคือสามารถเปิดใช้งานได้เลยโดยลดขั้นตอนของการต่อแอมป์เพิ่ม โดยเฉพาะงานที่มีขนาดเล็กๆก็จะสามารถต่อระบบง่ายไม่วุ่นวาย สามารถพบได้กับลำโพงสตูดิโอบางส่วนใหญ่เช่นกัน ซึ่งลำโพงสตูดิโอมอนิเตอร์ส่วนใหญ่ก็จะเป็นลำโพงแบบ Active ซึ่งจะมีแอมป์ขับแยกกันกันในแต่ละใบ โดยลำโพงสตูดิโอมอนิเตอร์ที่มีแอมป์แยกกันในแต่ละใบนั้นจะมีราคาที่ค่อนข้างสูง และจะพบได้ในสตูดิโอมอนิเตอร์ที่ระดับกลางๆถึงระดับมืออาชีพ



2. ลำโพง Passive

ลำโพง Passive คือลำโพงที่ไม่มีแอมป์ขับในตัวจำเป็นที่จะต้องมีเพาเวอร์แอมป์ในการช่วยขับเสียงออกมา พบได้กับลำโพง PA ทั่วไป ทั้งลำโพง Array และลำโพง Point Source เช่นกัน ถ้าได้แอมป์ที่ดี ก็จะทำให้คุณภาพเสียงที่ดี แอมป์แต่ละค่ายนั้นก็มีคาแรคเตอร์ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความชอบ และการใช้งานของผู้ใช้หรือ Sound Engineer การเชื่อมต่อลำโพงหลายๆเข้ากับเพาเวอร์แอมป์ก็อาจจะต้องมีความรู้เรื่องการต่ออนุกรม และการต่อแบบขนานด้วยนะ ข้อดีของลำโพงชนิดนี้คือสามารถเลือกเพาเวอร์แอมป์ และลำโพงโพงที่ต้องการได้ เรียกได้ว่าอยากได้คาแรคเตอร์แบบไหนจากลำโพง หรืออยากเอาเพาเวอร์แอมป์มาผสมกันก็สามารถทำได้สบาย แต่ผสมแล้วดีไหมต่้องฟังด้วยนะครับว่าผสมแล้วเสียงออกมาเหมือนที่คิดไหม ซึ่งลำโพงสตูดิโอมอนิเตอร์ก็จะพบบ้าง ซึ่งจะพบในลักษณะของลำโพงที่ขายมาแบบเป็นคู่ โดยจะมีหนึ่งข้างที่มีแอมป์ในตัว ส่วนอีกหนึ่งข้างจะไม่มีแอมป์ในตัว ซึ่งข้างที่ไม่มีแอมป์นั้นจะเป็นลำโพง Passive ซึ่งการใช้งานนั้นจะต้องใช้กำลังขับจากแอมป์ของลำโพงอีกข้าง จะสามารถพบได้กับลำโพงสตูดิโอมอนิเตอร์ที่มีราคาไม่แพงมาก ซึ่งก็จะเหมาะกับผู้เริ่มต้นทำเพลง หรือเริ่มมิกซ์เสียง   การเลือกซื้อลำโพงว่าจะใช้ลำโพง Active หรือลำโพง Passive ดีนั้น ให้ดูประเภทของงาน และขนาดของงานที่คุณรับว่า ซื้อแบบไหนจะเหมาะกับการใช้งาน และเหมาะกับขนาดงานของคุณอีกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ และตอนซื้อก็อย่าลืมดูว่าซื้อลำโพง Active หรือลำโพง Passive มา ถ้าซื้อลำโพง Active มา แล้วไปซื้อเพาเวอร์แอมป์เพิ่มก็อาจจะเสียตังซื้อเพาเวอร์แอมป์ฟรีได้ เพราะลำโพง Active มีแอมป์ในตัว ไม่ต้องซื้อเพิ่มนั่นเอง

Leave a Reply