ของมันต้องมีหากคิดจะทำ Home Studio
วันนี้ผมจะมาแนะนำอุปกรณ์ทำเพลงดี ๆ แบบ “ของมันต้องมีหากคิดจะทำ Home Studio” กันนะครับ ซึ่งเวลาเราพูดถึงการทำเพลงแล้วเนี่ย เมื่อก่อนเราก็จะต้องนึกภาพการทำงานในสตูดิโอใหญ่ ๆ มีอุปกรณ์เยอะๆ วุ่นวายตาลายกันไปหมดใช่ไหมครับ แต่ในยุคหลังมานี้เมื่อเทคโนโลยีมันมีการพัฒนา เปลี่ยนผ่านจากยุคอนาล็อกมาสู่ดิจิทัล ขนาดของสตูดิโอมันก็เล็กลง อุปกรณ์ที่ใช้ก็น้อยลง ขนาดที่สามารถยกสตูดิโอมาอยู่ภายในบ้านหรือห้องนอนของเราได้เลย และก็สามารถจบงานได้ด้วยคอมพิวเตอร์เพียงหนึ่งเครื่องและอุปกรณ์เล็กๆ น้อยๆ เพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้น ซึ่งในวันนี้เราจะมาดูกันว่า หากอยากเริ่มต้นทำ Home Studio นั้นอุปกรณ์ที่เราจำเป็นต้องมีนั้นมีอะไรบ้างครับ
1. Audio Interface
เรามาเริ่มกันที่อุปกรณ์ตัวแรกสำหรับคนที่คิดจะทำ Home Studio กัน นั่นก็คือ “ออดิโออินเตอร์เฟส” ครับ ออดิโออินเตอร์เฟส คือ อะไร ออดิโออินเตอร์เฟส หรือที่เราเรียกกันว่าซาวด์การ์ดอินเตอร์เฟส พูดง่าย ๆ ก็คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงอนาล็อกจากเครื่องดนตรีของเรามาเป็นข้อมูลดิจิทัลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ไว้ทำงานต่อในโปรแกรมทำเพลงนั่นเอง ซึ่งมีอยู่หลายรุ่น หลายแบบให้เราได้เลือกใช้นะครับ ยิ่งเป็นรุ่นที่ดีมีคุณภาพมากเท่าไหร่ เราก็จะได้สัญญาณเสียงที่มีคุณภาพมากเท่านั้น ซึ่งรุ่นที่ผมจะมาแนะนำในวันนี้ก็คือ เจ้าตัว Focusrite Scarlett Solo (3rd Gen) สีแดงสวย ๆ ตัวนี้ ซึ่งเป็นอินเตอร์เฟสรุ่นใหม่จากค่าย Focusrite ตัวนี้เป็น Gen 3 แล้ว โดยรุ่นนี้จะมีการพัฒนาระบบให้ได้ซาวด์ที่มีสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ที่เห็นได้ชัดเลยก็คือมีการเพิ่มปรีแอมป์ไมโครโฟนให้มีประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นโดยรุ่นใหม่นี้จะมีสวิทช์ปรับเป็นแบบ Air mode ซึ่งเป็นการจำลองปรีแอมป์ระดับตำนานของ Focusrite รุ่น ISA ซึ่งจะทำให้ได้คุณภาพเสียงที่เคลียร์และใสมากขึ้น ทำให้มั่นใจได้ว่าผลการบันทึกคุณภาพระดับมืออาชีพทุกครั้ง โดยการใช้งานยังง่ายเหมือนเดิม สามารถเชื่อมต่อไมโครโฟนหรืออุปกรณ์ดนตรีได้อย่างครบครัน รองรับคลื่นความถี่เสียงที่กว้าง สามารถแต่งเสียงได้อย่างสมบูรณ์แบบ นอกจากนี้ยังใช้การเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ด้วย USB แบบ Type C ที่ทำให้สามารถ รับ-ส่ง ข้อมูลได้รวดเร็วเเละมีความเสถียรมากกว่าเดิม ใครหาอินเตอร์เฟสดี ๆ ควรต้องจัดรุ่นนี้อย่างด่วน ๆ เลยครับ
2. หูฟัง
มาต่อกันที่อุปกรณ์ชิ้นที่สองก็คือ หูฟัง ซึ่งหูฟังที่ดีสำหรับการทำเพลงควรเป็นหูฟัง Monitor เพื่อให้เสียงที่ชัดเจนและเหมือนจริงมากที่สุด และควรจะมีสายที่ยาวหน่อย เพราะเวลาอัดร้องส่วนใหญ่เราจะยืนถ้าสั้นไปมันจะทำงานไม่สะดวกครับ ซึ่ง หูฟังเฮดโฟน Focusrite HP60 MkII ตัวนี้เป็นหูฟังมอร์นิเตอร์แบบปิด หรือที่เราเรียกกันว่า Headphones Monitor นั่นล่ะครับ ซึ่งข้อดีของหูฟังแบบนี้ก็คือมันจะช่วยตัดเสียงรบกวนทำให้เราได้ยินเสียงจากเพลงที่เราทำไว้ชัดเจนดี ซึ่งหูฟังที่ดีจะต้องมีความแม่นยำในการการฟัง ให้การตอบสนองความถี่ที่เป็นธรรมชาติ และตัวหูฟังจะต้องไม่บีบรัดเราจนปวดหัวและสวมใส่ได้สบายพอดีกับศีรษะของเราเพื่อให้เหมาะกับการทำงานที่เราต้องใส่หูฟังนาน ๆ ซึ่งหูฟังตัวนี้ถือว่าเข้าข่ายที่ว่ามาเลยครับเป็นหูฟังคุณภาพที่ใช้งานได้ดีเลยทีเดียวครับ
3. ไมโครโฟน
อุปกรณ์ชิ้นต่อมาก็คือ ‘ไมโครโฟน’ ครับ ไมโครโฟนนั้นมีหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้กันเพราะให้คุณภาพเสียงที่ดีเหมาะแก่การทำเพลงควรจะเป็นไมค์แบบ Condenser ครับ ซึ่งข้อดีคือมันจะมีการเก็บเสียงได้ดีและมีคุณภาพ แต่ข้อควรระวังคือเราต้องมั่นใจว่าห้องที่เราทำงานนั้นเงียบจริง ๆ ไม่งั้น Noise จะเยอะ ถ้ารุ่นราคาสูงหน่อยจะมีลูกเล่นเยอะ เช่น ปรับทิศทางการรับเสียงได้ แต่ถ้าใช้แค่อัดร้อง Cover อย่างเดียว เอาแบบไม่ต้องปรับทิศทางก็ได้ครับ และสิ่งที่ควรคำนึงถึงคือการ Miking หรือจัดการจัดวางไมค์นั่นเอง ซึ่งไมค์ Focusrite CM25 MkIII ตัวนี้มีคุณสมบัติตามที่ผมว่ามาเลยทั้งเป็นไมค์แบบคอนเดนเซอร์พร้อมด้วยระยะการรับเสียงแบบคาร์ดิโอด โพลาร์ แพทเทิร์น (cardioid polar pattern) ซึ่งเป็นรูปแบบการรับเสียงที่จะรับเสียงจากด้านหน้าได้ดีและลดการรับเสียงจากรอบข้างและด้านหลังทำให้ได้เสียงร้องที่คมชัดอีกทั้งยังช่วยลดเสียงนอยซ์และเสียงรบกวนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วยครับ
สำหรับอุปกรณ์ 3 ชิ้นที่ว่ามานี้ ถูกรวมเอาไว้ในชุด Focusrite Scarlett Solo Studio Pack (Gen 3) อุปกรณ์บันทึกเสียงแบบครบชุดคุณภาพโปรในราคาประหยัดซึ่งจัดมาเป็นเซ็ตพร้อมลุยกันได้ประกอบด้วย ออดิโออินเตอร์เฟส Focusrite Scarlett Solo (3rd Gen) 1 เครื่อง , หูฟังเฮดโฟน Focusrite HP60 MkII 1 ตัว, ไมโครโฟน Focusrite CM25 MkII 1ตัว แถมยังมีโปรแกรมสำหรับบันทึกเสียงแถมมาให้ฟรี ๆ ด้วยครับ เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นมาก ๆ
4. Pop Shield
เมื่อมีไมโครโฟนแล้วอีกอุปกรณ์ที่ควรจะมีถ้าหากอยากได้คุณภาพเสียงที่มีความเป็นมืออาชีพ นั่นก็คือ Pop Shield หรือ หรือ แผ่นดักเสียง แผ่นกันลม แผ่นกันน้ำลาย หรืออะไรก็แล้วแต่ สุดแท้แต่ที่เราจะเรียกกัน ซึ่งจุดประสงค์หลักของเจ้าอุปกรณ์ตัวนี้ก็คือมันจะทำหน้าที่ตัดเสียงลม หรือเสียงพึ่บ ๆ ที่มันจะเข้ามารบกวนเสียงของเราทำให้หัวเสียงนั้นไม่มีความคมชัด Pop Shield นั้นจะมีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือแบบตะแกรงเหล็ก และ แบบผ้า ซึ่งจะให้โทนเสียงต่างกันครับ แบบผ้าจะให้เสียงย่านต่ำที่ดรอปลงหน่อยจะให้เสียงที่ออกนุ่ม ๆ ส่วนแบบตะแกรงเหล็กจะออกกลางๆ แต่ทั้งสองแบบสามารถกันเสียงลมที่รบกวนได้ดีทั้งคู่ครับ หลายคนสงสัยว่าจำเป็นต้องมีมั้ย บอกเลยว่าเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นครับ หากเราอยากให้งานของเราออกมามีคุณภาพ มีความเนี้ยบแบบมืออาชีพ
5. Speaker Monitor
มาต่อกันที่อุปกรณ์ชิ้นที่ 5 นั่นก็คือ Speaker Monitor หรือ ลำโพง มอนิเตอร์นั่นเอง สำหรับลำโพงชนิดนี้จะให้เสียงที่ค่อนข้าง Flat ต่างจากพวกลำโพงคอมหรือลำโพงโฮมเธียเตอร์ครับ เวลาทำงานเราจะได้ยินเสียงที่อัดออกมาจริง ๆ ไม่ได้ผ่านการปรุงแต่งใด ๆ ทำให้เราปรับแต่งเสียงของเราได้อย่างที่เราต้องการจริง ๆ ซึ่งมีความสำคัญมากที่จะต้องใช้ลำโพงที่มีคุณภาพเพราะจะมีผลต่อคุณภาพในการฟังเสียงที่เราบันทึกมา การฟังย่านต่ำ ย่านกลาง ย่านแหลม มิติของเสียงอะไรแบบนี้ ซึ่งจะมีความสำคัญต่อการปรับบาลานซ์ของเสียงไปจนถึงขั้นตอนของการทำมาสเตอร์เลยครับ
6. คอมพิวเตอร์
สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำเพลงนั้น เราสามารถเลือกใช้ได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptop จะเป็น PC , Mac ก็ได้ครับ แต่ต้องลองเช็คสเป็คดูให้ดี เพราะมีผลต่อการประมวลผลอยู่เหมือนกันครับ สำหรับ CPU แนะนำให้เป็น Dual Core ขึ้นไป แต่ถ้าชิ้นงานที่เราทำมีขนาดใหญ่มีจำนวน track มากก็ต้องมีสเปคที่สูงขึ้นครับ ส่วน RAM แนะนำขั้นต่ำในการทำเพลงคือ 8GB ขึ้นไป ส่วนฮาร์ดดิสก์ก็สามารถใช้ที่ติดมากับเครื่องได้เลยครับ แต่อาจจะมี External HDD ติดไว้สักตัวเพื่อเก็บพวก Sample Library และข้อมูลต่าง ๆ ครับ
7. Software
เมื่อมีคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พร้อมแล้ว สิ่งสุดท้ายที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ Software สำหรับทำเพลงนั่นเองครับ ซึ่งโปรแกรมหรือซอฟแวร์ที่เราใช้ทำเพลงนี่เค้าจะเรียกว่า DAW ซึ่งย่อมาจาก Digital Audio Workstation พูดง่าย ๆ ก็คือ โปรแกรมที่เราใช้ทำการบันทึกเสียง เขียน MIDI ตัดต่อเสียง ปรับแต่งเสียง มิกซ์เสียง และทำมาสเตอร์ให้ออกมามีคุณภาพน่าฟัง โดยทั้งหมดจบลงในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวแบบครบวงจรแบบนี้เลย ซึ่งก็ให้เลือกหลายเจ้า หลายแบรนด์แล้วแต่ความชอบและความถนัดของแต่ละบุคคลครับ
เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับอุปกรณ์ทำเพลงดี ๆ แบบ “ของมันต้องมีถ้าคิดจะทำ Home Studio” ไม่วุ่นวาย ซับซ้อนเลยใช่มั้ยครับ แบบนี้ใคร ๆ ก็สามารถทำกันได้ หลังดูรายการจบวันนี้ลองไปซื้อหามาใช้กันดูนะครับ ถ้าคิดไม่ออกว่าควรเริ่มจากตรงไหน ก็ขอแนะนำให้เริ่มจากชุด Focusrite Scarlett Solo Studio Pack (Gen 3) ที่ผมแนะนำในวันนี้ได้เลยครับ หากใครสนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ลิงค์ด้านล่างได้เลยครับ แล้วจะรู้ว่าการทำ Home Studio นั้นสนุกและง่ายกว่าที่คิด