YouTube video

การบันทึกเสียง

        การบันทึกเสียงถือได้ว่าเป็นขั้นตอนที่ละเอียดอ่อนที่สุด เมื่อก่อนนี้การบันทึกเสียงถือว่าเป็นขั้นปราบเซียนเลยก็ว่าได้เพราะว่าการบันทึกเสียงนั้นนักดนตรีต้องมีความชำนาญและความแม่นยำสูง เพราะความผิดพลาดที่เกิดขึ้นย่อมหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทั้งค่าเช่าสตูดิโอหรือค่าจ้างนักดนตรี และการที่จะมาอัดแก้เฉพาะจุดนั้นไม่สามารถทำได้ง่ายเหมือนในปัจจุบันนี้ แต่ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะสามารถทำอะไรได้สะดวกขึ้น แต่นักดนตรีก็ควรที่จะต้องมีการฝึกซ้อมมาก่อนเพื่อให้เข้าใจในบทเพลงที่จะบรรเลงและสามารถบรรเลงได้อย่างชัดเจน แม่นยำ และได้อารมณ์ เพื่อผลที่มีคุณภาพเราก็ควรให้ความสำคัญกับขั้นตอนนี้ให้มากครับ

        นอกจากนี้ในขั้นตอนการบันทึกเสียงยังต้องคำนึงถึงปัจจัยอีกหลายอย่าง เช่น การใช้ออร์ดิโออินเตอร์เฟสที่ดีเพื่อให้ไม่มีการดีเลย์, การเลือกไมโครโฟนที่เหมาะสม, ตำแหน่งวางไมโครโฟน, การสะท้อนเสียงของห้อง, ระดับ gain ที่เหมาะสม, รวมไปถึงการมีหูฟังและลำโพงมอนิเตอร์ที่ดีเพื่อให้การได้บินเสียงนั้นมีความคมชัดและแม่นยำ เป็นต้นครับ

        โดยในขั้นตอนแรกนั้นเราจะเริ่มจากการบันทึกเสียงเข้าไปภายในโปรแกรมหรือ DAW ของเราก่อน เพราะฉะนั้นที่สำคัญเลยก็คือเราจะต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า ‘ออดิโออินเตอร์เฟส’ โดยเชื่อมต่อต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ของเราและต่อเครื่องดนตรีหรือไมโครโฟนเข้ากับออดิโออินเตอร์เฟส จากนั้นจึงทำการบันทึกเสียงเข้าไปในโปรแกรม โดยเราจะต้องสร้าง Track ขึ้นมาไว้ในโปรแกรมสำหรับเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น เป็น Audio Track นะครับ ส่วน Midi Track นั้นไว้สำหรับการใช้อุปกรณ์ VSTi จากในเครื่องแล้วเขียนด้วย MIDI ผ่าน MIDI Controller ไม่ได้ใช้เสียงจากอุปกรณ์จริงครับ

        สำหรับออดิโออินเตอร์เฟสดี ๆ วันนี้ผมมีมาแนะนำหนึ่งตัวครับ คือเจ้าตัวนี้เลย Universal Audio Apollo Twin X DUO Thunderbolt 3 ออดิโออินเตอร์เฟสรุ่นใหม่ล่าสุดจาก Universal Audio ที่มาพร้อมการเชื่อมต่อแบบ Thunderbolt 3 ที่สามารถส่งข้อมูลที่เร็วขึ้น นิ่งขึ้น แม่นยำขึ้น แถมยังสามารถเพิ่ม Input ได้อีก 8 input รวมเป็นรองรับ Input ได้สูงสุดถึง 10 Input และ 6 Output และยังแถม Plugin Realtime analog classic bundle มาให้แบบฟรี ๆ อีกด้วยครับ และเมื่อมีออดิโออินเตอร์เฟสแล้ว อุปกรณ์ชิ้นต่อมาที่มีความสำคัญไม่แพ้กันเลยก็คือ ‘ไมโครโฟน’ นั่นเองครับ !

        ซึ่งไมโครโฟนที่ผมจะใช้ในวันนี้ก็คือเจ้าตัวนี้ ไมโครโฟนยี่ห้อ Blue รุ่น Bluebird SL ที่มาพร้อมรูปลักษณ์และดีไซน์เฉพาะตัวสีฟ้าสวยงามโดดเด่นไม่ซ้ำใคร ให้โทนเสียงที่ค่อนข้างสมัยใหม่ ให้ย่านเสียงสูงที่เคลียร์ชัดเนื่องจากมีแผ่นรับเสียงหรือ Diaphragm ขนาดใหญ่ทำให้รับเสียงย่านสูงได้ดียิ่งขึ้น ส่วนย่านเสียงกลางก็มีความ Smooth แถมยังตอบสนองการใช้งานที่กว้างมากขึ้นตั้งแต่ บันทึกเสียงร้อง, กีตาร์อคูสติก, กีตาร์ไฟฟ้า, กลอง, เปียโน, เครื่องเป่า, เครื่องสาย อะไรได้หมดเลย เรียกได้ว่าสารพัดประโยชน์ ในแบบ All-in-One เลยครับ

       เอาล่ะครับไมค์พร้อม ออดิโออินเตอร์เฟสพร้อม โปรแกรมพร้อม ผมจะลองเริ่มบันทึกเสียงเข้าไปในโปรแกรมดูนะครับ เดี๋ยวผมจะลองเริ่มจากการอัดไลน์กีตาร์เข้าไปก่อนสมมติว่าอุปกรณ์ดนตรีที่ใช้เป็นกีตาร์ ในแทร็กแรกนี้ผมจะเล่นในส่วนของริทึ่มนะครับ จะตีคอร์ดเข้าไปก่อน จะเห็นว่าในขณะที่บันทึกเสียงในโปรแกรมผมจะมีสิ่งทีเรียกว่า metronome ดังติ๊ก ๆ คอยบอกจังหวะเพื่อให้เราเล่นตรงจังหวะนั่นเองครับ ซึ่งใครที่ไม่เคยฝึกกับเมโทรนอมก็อาจจะยากหน่อย ฝึกไปเรื่อย ๆ ก็จะชินนะครับ เพราะมันสำคัญมากในการช่วยให้เราอยู่ในจังหวะของเราครับ

       แต่ถ้าเราทำบีทหรือไลน์กลองเอาไว้แล้วเราก็สามารถใช้ไลน์กลองนั้นเป็นตัวกำกับจังหวะได้เลยครับ โอเคเรียบร้อยครับเดี๋ยวเราจะมาลองฟังดูว่าที่เล่นไปเป็นยังไงบ้างนะครับ ในขั้นตอนนี้เราก็ต้องมีอุปกรณ์การฟังที่ดี ซึ่งการฟังเสียงที่เราบันทึกไว้เราจะใช้เป็นหูฟังหรือลำโพงมอนิเตอร์ก็ได้นะครับ หรือจะมีทั้งสองอย่างก็ดีเพราะจริง ๆ แล้วมันมีข้อดีที่แตกต่างกันครับ เช่น หูฟังเหมาะกับการฟังเช็คเสียงต่าง ๆ ได้ดีเช่น เสียงฮัม, เสียงจี่เล็ก ๆ หรือใช้ฟังเวลาอัดร้องนะครับ ส่วนลำโพงมอนิเตอร์จะเหมาะกับการฟังเสียงที่บันทึกมาและการมิกซ์เสียงมากกว่า

       สำหรับลำโพงมอนิเตอร์ตัวนี้ก็คือ KRK Rokit RP5 G4 ลำโพงมอนิเตอร์แบบ Active รุ่นใหม่ล่าสุด จาก KRK รุ่น Rokit 5 Gen4 สีดำด้วย ดีไซน์เรียบเท่ มีจอ LCD สำหรับปรับค่า EQ ของลำโพง ให้เสียงจากลำโพงพอดีกับห้องนั้น ๆ ได้ด้วยครับ ส่วนหูฟังก็ เป็นหูฟังจาก Mackie MC-250 ตอบสนองย่านความถี่ 10Hz – 20kHz มาพร้อมดีไซน์เรียบ ๆ สีดำสวยเหมือนกัน ให้เสียงที่คมชัด ฟังสบาย สวมใส่สบายครับ จะสังเกตว่ามีบางส่วนที่ผมจะเล่นเหลื่อมนิดหน่อย งั้นเราจะมาแก้ไขกันตรงจุดที่พลาดไปนะครับ ผมจะเล่นอีกครั้งนึงตรงจดที่พลาดตรงนี้นะครับ อ้ะได้แล้วครับ ทีนี้ลองมาฟังกันอีกที คราวนี้ได้เลยครับ

       ต่อมาผมจะเล่นกีตาร์ไลน์ที่สองเพื่อเพิ่มสีสันให้กับบทเพลงนะครับ ไลน์เมื่อกี๊จะเป็นคอร์ดไปแล้ว ไลน์นี้ก็จะไม่ตีคอร์ดแล้วแต่จะใส่ลูกเล่นลงไปตามแต่สไตล์ของเพลงและลีลาของเรานะครับ คราวนี้มาฟังพร้อมกับไลน์อื่น ๆ บ้างว่าจะเป็นยังไงครับเราก็สามารถทำตามขั้นตอนเดียวกันนี้กับเครื่องดนตรีอื่นๆไปจนครบจบทุกเครื่องที่เราต้องการได้เลย จากนั้นถึงค่อยไปต่อที่ตัดต่อเสียง(Editing) และปรับแต่งเสียง(Mixing) ในขั้นตอนต่อไปที่ขั้นตอนของการตัดต่อ หรือ Editing ซึ่งคล้าย ๆ กับเป็นการทำความสะอาดเสียงที่อัดให้มาเรียบร้อยก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการผสมเสียง (Mixing) ซึ่งจะเป็นการปรับเสียงต่าง ๆ ให้ได้ตามที่เราต้องการ เช่น กำหนดความดัง-เบา ของแต่ละเครื่องดนตรี แต่ละท่อนเพลง การวางตำแหน่งของเสียงต่าง ๆ (ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง) รวมไปถึงการใส่เอฟเฟคต่าง ๆ ให้กับเสียง นั่นเองครับ

        เป็นยังไงกันบ้างครับกับขั้นตอนการบันทึกเสียงในวันนี้ ไม่ยุ่งยาก วุ่นวาย แถมสนุกด้วยใช่มั้ยครับ หากใครจะเริ่มต้นทำการบันทึกเสียงก็เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมได้เลยครับ หากใครสนใจอุปกรณ์ที่ผมแนะนำในวันนี้ก็สามารถสั่งซื้อได้ที่ลิงค์ด้านล่าง ลองฝึกทำกันดูครับ เรียนรู้และแก้ไขพัฒนากันไปด้วยความสนุกไปกับมัน แล้วเราจะรู้ว่าการทำเพลงนั้นสนุกและง่ายกว่าที่คิดครับ

Leave a Reply