Live From Home ให้เสียงดีเหมือนคอนเสิร์ต อีกหนึ่งทางเลือกของการเล่นดนตรี ที่ทำให้เราได้แสดงฝีมือโชว์เพื่อน ๆ และผู้ติดตามผ่านทาง Social Network จะไลฟ์สดมือใหม่ ต้องเริ่มจากอะไรก่อนดี 5 เทคนิคอย่างละเอียดจาก ProPlugin 1. เริ่มจากเครื่องดนตรี แน่นอนอยู่แล้วว่าอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในการจะ Live เล่นดนตรีสดของพวกเราก็คงหนีไม่พ้นเครื่องดนตรีนั่นเอง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าจะเล่นอะไรกันบ้าง เล่นกี่คน แต่ ๆ สำคัญที่สุดต้องอย่าลืมปฏิบัติตามหลัก Social Distancing เว้นระยะห่างซึ่งกันและกัน ไม่อยู่ในสถานที่ที่แออัดจนต้องอยู่ใกล้กันจนเกินไป ส่วนตัวเครื่องดนตรีของเรา ถ้าเป็นเครื่องดนตรีไฟฟ้าก็อาจจะง่ายในการจัดการ เพราะนอกจากจะสามารถต่อตรงเข้า Mixer หรือ Interface เพื่อให้ได้สัญญาณที่เต็มที่แล้ว ยังทำให้เราไม่ต้องมาห่วงเรื่องเสียงรบกวน ทั้งเสียงรบกวนที่จากอย่างอื่นที่จะมาเข้า Microphone และเสียงของเครื่องดนตรีเราที่จะดังออกไปรบกวนเพื่อนบ้าน 2. Microphone เพื่อให้ได้เสียงที่ชัดเจน หลังจากที่เรามีเครื่องดนตรีแล้ว เราก็ต้องเอาเสียงจากเครื่องดนตรีเข้าไปในระบบ Live Streaming ถ้าอยากให้เสียงของเราออกมาดี ได้ยินชัดเจนก็ไม่ควรหวังพึ่ง Microphone ที่ Built-in อยู่ใน Smartphone ของพวกเราครับ เพราะถึงแม้ว่าโทรศัพท์คุณจะเป็นรุ่นใหม่เครื่องแพงแค่ไหน แต่เจ้าไมโครโฟนตัวนั้นมันออกแบบมาแค่เพื่อรับเสียงพูดส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์ให้แค่พอฟังรู้เรื่องเท่านั้น แถมยังไม่สามารถที่จะเอาไปวางจ่อเครื่องดนตรีในตำแหน่งที่เหมาะสนได้อีกต่างหาก ถ้าใครใช้เครื่อง Acoustic ก็อาจที่จะต้องมีไมโครโฟนจ่อเครื่องดนตรีต่างๆ เพื่อเอาเสียงเข้าระบบ หรือถ้าใครใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้าก็อาจจะต่อตรงเข้า Mixer หรือ Audio Interface กันไปได้เลย แล้วก็ต้องอย่าลืม Microphone สำหรับนักร้องกันด้วย ร้องกี่คนประสานกี่ไลน์ก็จัดหาไมโครโฟนมาใช้กันให้เพียงพอ หรือบางคนอาจจะอยากได้ Feeling แบบ Vintage ที่นักร้อง 2-3 คนมือยืนล้อมวงรอบไมโครโฟนตัวเดียวกันก็สามารถทำได้ เพียงแต่อาจจะมีปัญหาเรื่องการควบคุม Balance ของเสียงร้องกันเล็กน้อยในกรณีที่นักร้องแต่ละคนร้องเสียงดังไม่เท่ากัน หรือในกรณีที่ใครอยากเล่นดนตรี Acoustic แบบน้อยชิ้นแล้วไม่อยากจะซื้อหาหรือตั้งไมโครโฟนหลายตัว ก็สามารถที่จะหา Condenser Microphone ซึ่งมีทั้งแบบ Professional Use ที่ต้องใช้สาย XLR เชื่อมต่อเข้าระบบ หรือเป็นสาย USB, USB-C หรือ Lightning ที่จะสามารถต่อเข้า Computer หรือ โทรศัพท์มือถือโดยตรงเลยก็ยังมี แล้วเอามาตั้งไว้ตรงกลางเพื่อเก็บเสียงรวม หรือบางตัวก็อาจจะเป็นแบบ Stereo ที่ทำให้เราสามารถแยกเสียงซ้ายขวาได้อีกด้วย เพียงแต่ถ้าจะใช้วิธีนี้ ก็อาจจะต้องมั่นใจนิดนึงว่าห้องของเราเสียงดีพอ ไม่ค่อยมีเสียงรบกวนมาก และต้องลองฟังเพื่อหาตำแหน่งที่จะได้ยินเสียงแต่ละอยากให้ออกมา Balance ที่สุดเท่าที่จะทำได้ 3. ถ้าเครื่องเยอะก็ อาจจะต้องมี Mixer ในกรณีที่เล่นกันหลายคน หรืออาจจะต้องการใช้ Microphone หลายตัว Mixer ก็อาจจะเป็นตัวช่วยทีเราควรมี เพราะเจ้า Mixer นี้มันจะช่วยทำให้เราสามารถที่จะรวมหลาย ๆ เสียงเข้าด้วยกัน แถมยังสามารถทำให้เราควบคุม ความดัง/เบา โทนเสียง และเติม Effect ต่าง ๆ ได้อีกด้วย ซึ่งจะต้องใช้กี่ช่องก็ขึ้นอยู่กับจำนวนเครื่องดนตรี และเสียงที่เราจะต่อเข้ามานั่นเอง ซึ่งถ้าใครมี Mixer ที่สามารถต่อ USB เพื่อเอาเสียงเข้าคอมได้ก็อาจจะได้เปรียบ เพราะคุณจะสามารถข้ามอุปกรณ์ตัวต่อไปที่เราจะพูดถึงไปได้เลย 4. เอาเสียงเข้า Computer หรือ Smartphone ผ่าน Audio Interface หลังจากที่เราเอาเสียงทั้งหมดมารวมกันได้แล้ว เราก็ต้องเอาเสียงนั้นมาต่อเข้าตัวกลางที่จะใช้ทำ Live Streaming ไม่ว่าจะเป็น Computer หรือ Smartphone เราก็สามารถที่จะเลือกใช้ Audio Interface ที่เหมาะสมกันได้เลย โดยถ้าใครมี Audio Interface ที่มีหลาย Input และมีมากพอที่จะต่อเสียงทุกตัวเข้ามารวมกันได้ทั้งหมดแล้วก็อาจจะไม่ต้องใช้ Mixer ที่กล่าวมาในข้อที่แล้ว เพียงแต่เราอาจจะต้องใช้ DAW มาใช้ในการ Mix เสียงแทน แล้วอย่าลืมว่าถ้าใครอยากจะใช้เสียงที่ผ่าน DAW แล้ว อาจจะต้องหา Plugin หรือ Software อื่นเพื่อมาทำ Internal Routing สงสัญญาณที่ Output ออกมาจาก DAW ไปเข้า Streaming Software ที่เราใช้กันด้วย . โดยใน Windows จะมี Free VST ที่ชื่อว่า Voxengo Recorder มา Insert ไว้ใน Master Fader หรือถ้าใน Mac ก็จะมี App ที่ชื่อว่า Loopback (แบบ free จะใช้ได้แค่ 20 นาที) ที่ให้เราสามารถที่จะทำการเชื่อม Output จาก DAW ไปยัง Program ต่าง ๆ ได้ 5. เสียงดีแล้ว ว่ากันในเรื่องของภาพบ้าง ถ้าใครจะ Live ผ่าน Smartphone ก็อาจจะไม่ต้องปวดหัวกับอุปกรณ์ที่มีอีกเยอะแยะ แต่คุณก็จะต้องติดอยู่กับข้อจำกัดของกล้องมือถือ และไม่สามารถที่จะตัดสลับหลายมุมกล้องได้ ส่วนใครที่อยากจะต่อสัญญาณภาพจากกล้องต่างๆ เข้า computer อยากแรกที่คุณจะต้องมีเลยก็คือ Video Capture Card ที่ทำหน้าที่เหมือนเป็น Video Interface ทำให้เราสามารถที่จะต่อสาย HDMI จากกล้องส่งสัญญาณภาพเข้าไปที่ Computer ของเราได้ (ช่อง HDMI ใน Computer ของเราแทบจะ 99% มีไว้เพื่อส่งสัญญาณภาพออกเท่านั้น ไม่สามารถรับเข้าได้) ถ้าใครจะใช้หลายกล้อง คุณอาจจะเลือกใช้วิธีการที่ต่อแต่ละกล้องเข้าไปที่ Video Capture Card ของเราตามจำนวนกล้องที่ใช้ แล้วไปใช้ Streaming Software ใน Computer ที่มักจะมี function ทาง production ที่ช่วยทำให้เราสามารถที่จะตัดสลับมุมกล้อง ซ้อนภาพ หรือแม้แต่ใส่ตัวอักษร Logo และ Graphic ต่างๆ ลงไปในภาพได้ แล้วก็อย่าลืมขาตั้งกล้อง และไฟต่าง ๆ ที่จะช่วยทำให้เราภาพของเราออกมาสวยมากขึ้นด้วย 6. สุดท้ายคือ Streaming Software ปัจจุบันในตลาดมี Streaming Software มากมายหลายเจ้าให้เราได้เลือกใช้ ทั้ง Free และเสียเงิน โดยมี OBS Studio เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่หลายๆ คนเลือก เพราะนอกจากจะ Free แล้ว OBS ยังเป็น Open Source Software ที่ทำให้มี User นักพัฒนา Software ทั้งหลายผลิต Plugin หรือ Tools ต่างๆ ออกมาช่วยทำให้เราสามารถทำงานกับ OBS Studio ได้ง่ายขึ้น ส่วนใครที่รู้สึกว่าการทำงานบน OBS Studio นั้นยุ่งยาก และซับซ้อนเกินไป ก็ยังมี Streamlabs OBS ที่เป็นอีกหนึ่ง Free Software น้องใหม่ที่มีความสะดวกในการใช้งานมากกว่าเหมาะกับคนที่ไม่อยากวุ่นวายกับการ Setup แต่จะมีข้อจำกัดในเรื่องการปรับแต่งต่างๆ ที่ไม่สามารถที่จะทำได้อย่าง อิสระในแบบ OBS Studio ซึ่ง Streaming Software เหล่านี้นอกจากจะเป็นตัวควบคุม Production ทาง Video และจับเอาภาพกับเสียงของเรามารวมกันแล้ว มันยังจะเป็นตัวที่ทำการเชื่อมต่อกับ Streaming Server ของผู้ให้บริการ Platform ต่าง ๆ ให้เราได้อีกด้วย โดยที่บางตัวก็อาจจะมีตัวช่วยที่เราแค่เพียงต้อง login หรือบางตัวอาจจะต้องใช้วิธีการ Connect ผ่าน RTMP Server ที่เราจะต้องเข้าไปเอา Code สำหรับการ Connect ของการ Live ในแต่ละครั้งจาก Platform ต่าง ๆ มาป้อนใน Software เพื่อทำการเชื่อมต่ออีกที สุดท้ายข้อควรระวังอีกหนึ่งอย่าง ไม่ว่าเราจะ Streaming ผ่านระบบไหนก็อย่าลืมเรื่องกฏหมายที่เราไม่ควรจะไปละเมิดลิขสิทธิ์ โดยการนำมาทำซ้ำหรือเผยแพร่ก่อนที่จะได้รับการอนุญาติด้วยนะครับ ซึ่งถ้าเป็นการเล่น Cover อาจจะไม่ได้เป็นปัญหา แต่ในกรณีของ DJ ที่เปิด Track ต่าง ๆ ของศิลปินคนอื่นด้วยนะครับ